เชื่อว่าหลายท่านทราบดีว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มีความฉลาด และทำประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มาก แต่หากได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ คุณอนุวัฒน์ ชำนาญ Founder & CEO: Dynamic Intelligence Asia (DIA) และเรื่องราวเกี่ยวกับโซลูชั่นที่ทาง DIA พัฒนาขึ้น จะทราบเพิ่มขึ้นอีกว่า แท้จริงแล้ว AI ทำประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากกว่าที่เราคิด
DIA บริษัทพัฒนา AI solutions สัญชาติไทย ยกระดับอุตสาหกรรมจาก 3G สู่ 4G
Dynamic Intelligence Asia Co., Ltd. หรือชื่อย่อ DIA คือ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และโซลูชั่น AI ชั้นแนวหน้า ที่ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยทั้งในด้านอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง ยานยนต์ พลังงาน เทคโนโลยี โรงพยาบาล ฯลฯ
DIA เป็นบริษัทสัญชาติไทย 100% ที่มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นนวัตกรรมด้าน AI และ Computer Vision รวมทั้งเทคโนโลยีระบบการจดจำใบหน้าเข้ามาช่วยยกระดับองค์กรต่าง ๆ โดยตั้งภารกิจเพื่อ Upgrade 3G manufacturing ให้พัฒนาเป็น 4G manufacturing หรือ Smart manufacturing อย่างสะดวกและยั่งยืน ด้วยการนำ AI เข้าไปจัดการทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้ Automating
สำหรับ DIA นั้นเรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี AI เลยทีเดียว โดยเฉพาะคุณอนุวัฒน์ CEO ของบริษัท ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานด้าน Network Engineering และได้ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกหลายแห่งในกลุ่ม Automotive, FMCG และ Sustainability Industries ยาวนานต่อเนื่องกว่า 15 ปี จึงมีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจเทคโนโลยี AI เป็นอย่างดี นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ DIA ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจชั้นนำของไทยได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ในปี 2022 DIA ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น Top 25 Global Selected By JETRO Japan อีกด้วย สำหรับรางวัลอื่น ๆ ได้แก่
ปี 2020 รางวัล Winner RISE and Microsoft Hackathon SEA
ปี 2022 รางวัลที่ 3 ด้าน Computer Vision และ Automation solutions จากงาน Huawei Spark Ignite 2022
ความสำคัญของการใช้ AI เข้ามาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต
โซลูชั่น AI เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าของ DIA มีความหลากหลายและครอบคลุม โดยคุณอนุวัฒน์ กล่าวว่า “Solution ทางด้าน Manufacturing เรามีตั้งแต่เข้าโรงงานจนถึงออกโรงงาน ซึ่งโซลูชั่นของเราออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย คนที่ไม่มีความรู้ด้าน AI เลยก็สามารถใช้ได้ User สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการ Product ดังกล่าว มีชื่อว่า DUSCAP ซึ่งถือเป็น Flagship Product และ Business Game Changer ของเรา อย่างที่บอกมันคือ No code AI Creator Application platform ที่ทำให้ User ที่ไม่มีความรู้ด้าน programming หรือ engineering เลยก็สามารถสร้าง AI Application ได้เอง อันนี้เป็น Concept ของตัวนี้”
แต่ก่อนจะไปรู้จักกับ DUSCAP คุณอนุวัฒน์ ชวนมองความสำคัญของการใช้ AI เข้ามาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตกันก่อน เนื่องจากเมื่อเห็นความสำคัญ และประโยชน์แล้ว จะเห็นภาพของโซลูชั่นชัดเจนขึ้น โดยความสำคัญของมันจะทำให้เกิด Customer Benefits 3 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน
1. Waste reduction ประเด็นนี้หากมองในมุมของโรงงานอุตสาหกรรมก็คือ การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใช้ AI มาช่วย เราสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกธุรกิจ เช่น การลดเวลาที่ต้องเสียไป อย่างงานเซอร์วิสลูกค้าออนไลน์ หากเราใช้ระบบบริหารงานด้วยวิธี manual ต้องใช้พนักงานมาตอบคำถาม แล้วบางครั้งก็ไม่ได้ตอบลูกค้าในทันทีเพราะอาจจะติดลูกค้าท่านอื่นอยู่ หรือเป็นเวลาพัก แต่ AI สามารถตอบได้ทันที และตอบได้ตรงคำถาม ส่วนนี้ก็สามารถลดเวลาที่เสียไปได้ ประสิทธิภาพงานก็จะเพิ่มมากขึ้น หรือแม้กระทั่งใช้ในงาน Information ทักทายลูกค้าที่เข้ามาก็ได้
2. Increasing efficiency and time saving เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิต เช่น คนหนึ่งคนทำงาน 1 ชิ้นใช้เวลา 3 นาที แต่ AI ใช้เพียง 0.3 วินาทีเท่านั้น
3. Long-Term Benefits AI Transformation ผลประโยชน์ระยะยาวนี้ คุณอนุวัฒน์อธิบายว่า “เพราะเป็น AI สัญชาติไทย ดังนั้นนอกจาก product ที่เราเข้าไปช่วย support แล้ว เรายังทำในเรื่องของ AI transformation ให้ด้วย คือ การสร้างทีม AI ให้กับลูกค้า และนอกจากนี้ DUSCAP ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้าง AI ขึ้นมาได้เอง ดังนั้นในกรณีนี้ ลูกค้าก็จะเกิด Knowledge และ Know How เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเขา และในการบริหารของเขาในระยะยาว
นอกจาก Customer Benefits 3 ข้อที่ยกมา คุณอนุวัฒน์ยังยกสถิติที่น่าสนใจของลูกค้าที่ใช้บริการโซลูชั่น AI ของ DIA ว่า “เฉลี่ยแล้ว ลูกค้าสามารถทำ Cost saving ROI ได้ 800% ใช้คนน้อยลงได้ ROI 300% หรือคนจำนวนเท่าเดิมแต่สามารถทำงานได้มากขึ้น”
โซลูชั่น AI สร้างมาเพื่อกำจัด Common Problems
คุณอนุวัฒน์กล่าวว่า Common Problems หรือปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
1. Inefficient production process แต่เดิมแรงงานหลักในการทำงาน คือ มนุษย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากระบวนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ หรือเกิดข้อผิดพลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมนุษย์ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง หรือทำงานเกินกะที่ 2 มักมีโอกาสเกิด Human Error ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ โซลูชั่น AI จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้
2. Quality Control ปัญหาจากการควบคุมการผลิต คุณภาพการผลิตที่ตัดสินใจโดยมนุษย์มักเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง แต่หากใช้ AI เข้ามาควบคุม จะช่วยให้การควบคุมมีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น เนื่องจาก AI จับจุดผิดพลาดได้ละเอียดกว่าสายตาของมนุษย์
3. Safety and monitoring ความสามารถในการแก้ปัญหาของ AI จาก DIA คุณอนุวัฒน์กล่าวอย่างน่าทึ่งว่า “เรื่อง Safety นี้ AI ของเราสามารถป้องกันเหตุอันตรายไว้ได้ก่อนเกิดการบาดเจ็บ”
โซลูชั่น AI ของ DIA ทำงานอย่างไร
จากหัวข้อสัมภาษณ์ข้างต้นจะเห็นว่าโซลูชั่นมีความสามารถ และมีความฉลาดอย่างน่าทึ่ง ผู้อ่านอาจเกิดข้อสงสัยว่า ‘การใช้งานไม่น่าจะง่ายอย่างที่จั่วหัวบทความ’ คำยืนยันถึงความง่ายอยู่ที่คำอธิบายนี้
‘สาเหตุที่ทำให้ DIA ชนะในหลาย ๆ รางวัล และเป็นที่ไว้วางใจขององค์กรระดับแนวหน้าในประเทศไทยนั่นเพราะการเข้าถึงง่าย ตอบโจทย์ผลประโยชน์ และการป้องกันปัญหาทั้ง 3 ข้างต้น’
คุณอนุวัฒน์กล่าวว่า “สิ่งที่เราทำ คือ มอบความสามารถของคน หรือการทำงานแบบอัตโนมัติ ให้โรงงาน จริง ๆ กับโรงพยาบาล หรือ shopping mall ก็ได้ด้วยเช่นกัน ความสามารถที่เราให้ ได้แก่”
“คนมี ‘ตา’ / ตามองเห็น จากนั้นสมองจะตัดสินใจว่าต้องจัดการกับสถานการณ์ที่เห็นอย่างไร แล้วสิ่งที่สมองสั่งให้จัดการ ก็คือ ‘ร่างกาย’ เช่น มือ ในขณะที่โรงงานไม่มีสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นเราจึงเข้าไปเปลี่ยนสิ่งที่เขามีให้สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคน โดยใช้ AI”
“อย่างแรกเลย เราสามารถเปลี่ยน Streaming Device เช่น CCTV, QC Camera, Smartphone, Tablet ฯลฯ รวมทั้งระบบต่าง ๆ ให้กลายเป็นตาของคน โดยใช้พลังความสามารถของ Computer Vision ร่วมกับ AI”
“หลังจากนั้นเมื่อ AI มองเห็นผ่านกล้อง (หรือผ่านระบบต่าง ๆ) มันก็จะสั่งสิ่งที่มีอยู่ในโรงงานให้ take action บางอย่างทันที เช่น เห็นสินค้าหลุด QC ก็จะแจ้งพนักงาน หรือดีดสินค้าตัวนั้นออกทันที หากมองเห็นเครื่องจักรไฟฟ้ารั่วก็จะสั่งหยุดทันที หากมองเห็นของเสียในเครื่องจักรก็สั่งให้เทออกได้ทันที หากมองเห็นเครื่องจักรขัดข้อง ก็จะสั่งหยุดทันทีก่อนที่พนักงานจะยื่นมือไปตรวจสอบ เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ และหาก AI มองเห็นแล้วแต่ไม่สามารถสั่งเครื่องจักรได้โดยตรง เพราะไม่ได้เชื่อมต่อกัน มันก็จะส่งคำเตือนไปหาผู้จัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยเร็ว ซึ่งส่งได้ทั้งการติดต่อภายในองค์กร และ Line ส่วนตัว”
Application DUSCAP โซลูชั่นยกระดับอุตสาหกรรมจาก 3G สู่ 4G ที่ใช้งานง่ายไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน
จากบทสัมภาษณ์ผู้อ่านย่อมเห็นแล้วว่าโซลูชั่น DUSCAP ทำงานอย่างไร ให้ประโยชน์อะไร หัวข้อนี้จะขอขยายประโยชน์อีกอย่าง คือ เมื่อ DUSCAP ใช้งานง่ายแม้ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีก็สามารถเขียนแอป AI ได้ นั่นย่อมหมายความว่า ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาเขียนโปรแกรม ซึ่งโดยทั่วไป กระบวนการเขียนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญร่วม 5 – 6 คน ใช้เวลา 4 เดือนเป็นอย่างต่ำ ส่วนค่าใช้จ่ายก็เป็นหลักล้านบาท แต่ การใช้งาน DUSCAP ที่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก แถมใช้งานระบบได้เทียบเท่ากัน
“จุดแข็งของ DUSCAP คือ One click AI training module ลูกค้ากดเพียงปุ่มเดียว AI ก็จะ optimize data ที่มี ให้ Train AI ได้เลย” คุณอนุวัฒน์กล่าว
สำหรับการทำงานของ DUSCAP มีขั้นตอนง่าย ๆ ซึ่งเชื่อเลยว่าเมื่อทราบแล้ว ผู้อ่านจะอยากใช้งานมันในทันที คือ
1. ป้อนข้อมูลให้ระบบ เพื่อสอนให้ AI เรียนรู้ โดยการอัปโหลดภาพ หรือวิดีโอเข้าไป เช่น ต้องการให้ AI รู้จักอุปกรณ์ป้องกันภัย PPE (Personal Protection Equipment) AI ก็จะรู้ว่า อันนี้คือหมวก safety, อันนี้คือ แว่น Safety แตกต่างกันอย่างไรจากภาพที่เราป้อนเข้าไปให้ เมื่อมัน ตรวจเจอคนสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ระบบก็สามารถแยกออกให้ได้อย่างรวดเร็ว ว่าบุคคลท่านนั้นได้ใส่ อุปกรณ์อย่างเหมาะสมหรือไม่ก่อนเข้ามาในพื้นที่ทำงาน หรืออัปโหลดภาพการประกอบรถยนต์ที่สมบูรณ์ให้ AI ดู มันจะเรียนรู้ว่ารถยนต์ที่สมบูรณ์ต้องเป็นอย่างนี้ เมื่อมันพบรถยนต์จริงในสายการผลิตมีสภาพไม่ตรงกับเดด้าที่มันเรียนรู้ มันจะเตือน หรือส่งกลับไปให้แก้ไขโดยอัตโนมัติ ซึ่งจุดบกพร่องเล็ก ๆ เหล่านี้หากตรวจสอบด้วยสายตามนุษย์อาจเกิดข้อผิดพลาดได้
2. กดสั่งให้ Train AI จากข้อมูลที่เราป้อน
3. สร้าง application เพื่อทำงานตามที่ต้องการ ส่วนนี้ไม่ต้องกังวลเพราะโซลูชั่น DUSCAP จะสร้างให้โดยอัตโนมัติ
“Concept ของเราก็คือ ใครก็ตามที่สามารถใช้งาน PowerPoint ได้ สามารถใช้ canvas ได้ ย่อมใช้งาน Solution ของเราได้ เพราะเราต้องการให้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าถึงคนหมู่มาก โดยไม่จำเป็นต้องเป็น AI engineer หรือต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ระดับสูง นอกจากนี้โซลูชั่นของเราได้ลอง Test กับ user ที่ใช้งานจริง และน้องๆ นักศึกษา และนักเรียนมัธยมต้นแล้ว ซึ่งน้อง ๆ สามารถสร้าง AI application ได้ ดังนั้นถ้าน้อง ๆ กลุ่มนี้ทำได้ ทุกคนก็ต้องทำได้แน่นอน เพราะมันง่ายมากในการใช้งาน” คุณอนุวัฒน์ขยายความ
4. ใช้งาน DUSCAP Application โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงาน เช่น คน train AI อยู่ที่ โรงงานอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย แต่ solution deployed ที่ ประเทศอินโดนีเซีย ก็สามารถใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ขอให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยกันได้ก็พอ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ
ทำความรู้จักกับ DUSCAP ให้มากยิ่งขึ้นด้วย vdo ใน link ด้านล่าง
https://youtu.be/O9JcIjlC5pA
https://youtu.be/94JXmWNjpeE
ตัวอย่างการนำ AI model ไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมการผลิต
ประยุกต์ให้เป็น Multiple application
ระบบ DUSCAP สามารถประยุกต์กล้อง 1 ตัวให้ทำงานหลายอย่างได้ เช่น ใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัย แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้โซลูชั่นสั่งให้มันตรวจสอบการทำงานของรถยกขนของภายในโรงงานได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ดูว่ารถคันไหนไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน แต่มันสามารถดูได้ว่า รถที่ใช้ เช่นในจำนวน 30 คัน มีประสิทธิภาพพอไหม ใช้งานเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ต้องเพิ่มหรือลดจำนวน ต้องขับอย่างไรให้ optimized ที่สุด บางกรณี AI พบว่าจากที่ใช้รถ 30 คัน ใช้แค่ 22 คันก็พอ สิ่งเหล่านี้ลดต้นทุนได้มาก เพราะหลายโรงงานใช้วิธีเช่ารถมา
รู้และป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ
เมื่อ AI เข้าไปเป็นตา มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่าน CCTV และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่นลำโพง เมื่อมันเห็นว่ารถส่งของภายในโรงงานกำลังเลี้ยวตรงจุดอับสายตา ที่รถฝั่งสวนมามองไม่เห็น แล้วคำนวนว่าต้องชนกันแน่ ๆ มันก็จะแจ้งเตือนทันที
งานอันตรายต้องมีบัดดี้
งานเชื่อมในที่แคบ งานในที่สูง หลายบริษัทมีนโยบายกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีคู่หู หรือ buddy ไปด้วย คือ คนหนึ่งทำงานอีกคนคอยระวังหลัง แต่ก็มักเกิดรอยรั่วเสมอ หลายครั้งที่พนักงานแอบไปทำคนเดียว สุดท้ายก็เกิดเหตุเศร้า แต่เมื่อใช้ระบบ AI มันจะไม่ยอมให้เข้าพื้นที่เด็ดขาดหากไม่มีคู่หู
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากบุคคลภายนอก
ในพื้นที่ควบคุมสูงที่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าถึงได้นอกจากจะมีบุคลากรภายในนำพา ส่วนนี้ AI ก็ช่วยได้ เพราะเมื่อ AI เห็นว่าบุคคลภายนอกเข้าในพื้นที่หวงห้ามก็จะแจ้งเตือนผ่านลำโพงทันทีให้หยุดก่อน เพื่อให้รอเจ้าหน้าที่มา หรือแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติเมื่อเจอบุคคลเฝ้าระวัง
รักษาความปลอดภัยภายในองค์กร
ไม่ใช่แค่บุคคลภายนอกที่ต้องระวัง บุคคลภายในบางครั้งก็ปล่อยปะละเลย ไม่สวมชุด PPE (Personal Protective Equipment) คือ อุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สวมใส่เพื่อป้องกัน แล้วเข้าไปทำงาน หลายกรณีเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรู้จักกันก็มักอนุโลมให้ผ่าน สุดท้ายเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น แต่ AI ไม่ให้ผ่านทุกกรณี นอกจากจะสวม PPE ครบถ้วนถูกต้อง
ดู vdo สาธิตการใช้งานได้ที่ ASA+ PPE DUSCAP https://youtu.be/No_IWOOf_vk
อีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง คือ หลายบริษัทมีมาตรการควบคุมผู้เข้าพื้นที่ตามกฎหมาย เช่น ก่อนเข้าพื้นที่ต้องผ่านการอบรมวิธีหนีไฟมาก่อน หากยังไม่อบรม ต้องนั่งอบรมก่อนจึงจะเข้าพื้นที่ได้ แต่เมื่อใช้ AI เราจะรู้ได้เลยว่าบุคคลนี้เป็นพนักงานภายใน หรือบุคคลภายนอก และเคยผ่านการอบรมอะไรมาบ้าง การอบรมใดที่อนุญาตให้ผ่านได้ ซึ่งลดขั้นตอนการตรวจสอบลงได้มาก
Smart AI Assistant เพิ่มศักยภาพให้องค์กรด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า
DIA Smart AI Assistant เป็นเทคโนโลยีที่ DIA นำระบบจดจำใบหน้ามาประยุกต์ใช้กับ AI เพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กร โดยมันสามารถยืนยันตัวตนจากใบหน้าได้แม่นยำถึง 99% และมีความเร็วที่ 10 หน้าต่อ 1 วินาที หากนำไปติดตั้งหน้าโรงงาน สามารถยืนยันตัวตนพนักงานได้ 100 คนภายใน 10 วินาที โดยไม่ต้องตอกบัตร ขจัดปัญหาตอกบัตรเข้างานแทนกันได้เลย
ทั้งนี้ Smart AI Assistant ไม่ได้มีดีแค่นำมายืนยันบุคคล แต่มันสามารถนำไปใช้กับงานได้อีกหลายประเภท ได้แก่ Sale Promoter, Information Provider, Virtual Receptionist, 24/7 Security และ HR Assistant
งานด้าน 24/7 Security โซลูชั่น Smart AI Assistant สามารถนำมาช่วยงานรักษาความปลอดภัยได้ โดยไม่ต้องให้ รปภ. คอยเดินตรวจอีกต่อไป เพราะกล้องสามารถตรวจจับใบหน้าบุคคลภายนอกได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากมันพบบุคคลแปลกหน้ามาทำพิรุธใกล้โรงงาน ก็จะแจ้งให้ รปภ. ที่ประจำจุดต่าง ๆ ทราบอย่างรวดเร็ว การประยุกต์ใช้วิธีนี้นอกจากช่วยลดภาระพนักงานรักษาความปลอดภัยแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัยด้วย เพราะผู้ร้ายย่อมหาโอกาสตอน รปภ. เผลอเพื่อจะเข้ามาขโมยของ แต่ Smart AI Assistant ไม่มีเผลอ ไม่เหนื่อย และไม่ล้า
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ AI ตรวจสอบบุคคลแทนการแลกบัตรแบบเดิมได้ด้วย ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาไปได้มาก ทั้งยังรู้ด้วยว่าบุคคลที่เดินเข้ามาเป็นพนักงานของบริษัท หรือว่าเป็นผู้มาติดต่อ หรือเข้ามาทำงานชั่วคราว หากเป็นผู้ที่เข้ามาทำงานชั่วคราว เขามาจากหน่วยงานไหน เป็นคนไทย หรือต่างชาติ ถ้าเป็นคนไทย AI ก็จะใช้ภาษาไทยสื่อสาร หากเป็นคนจากจากต่างประเทศ เช่น เมียนมา กัมพูชา ฯลฯ AI ก็จะสื่อสารด้วยภาษานั้น ๆ แบบเรียลไทม์
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้นที่ Smart AI Assistant สามารถทำได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วประยุกต์เข้ากับแผนกต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายมาก
ความท้าทาย และแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับการนำ AI เข้ามาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย จากมุมมองของ DIA
เมื่อถามถึงความท้าทายของการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรม คุณอนุวัฒน์ ตอบว่า “ก่อนหน้านี้ประมาณ กลางปี 2023 เป็นต้นมา ทุกคนต่างบอกว่า AI เป็นสิ่งไกลตัว แต่ปัจจุบันไม่ใช่สิ่งไกลตัวอีกต่อไปแล้ว คนเริ่ม Implement AI กันมากขึ้น ผมกล้าพูดเลยว่าบริษัทระดับโลกทุกบริษัทศึกษาและเริ่มใช้งาน AI มา 1 – 2 ปีหรือมากกว่านั้น ดังนั้นหากใครยังไม่เริ่ม ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะตามคู่แข่งไม่ทัน”
“ความสำคัญ คือ ผู้ประกอบการต้องเข้าใจในการประยุกต์ใช้ AI ผมเชื่อว่า บางครั้งถ้าเห็นจากสื่อ หรือภาพยนตร์ บางคนอาจรู้สึกแปลกใจว่า AI ทำได้ขนาดนั้นเลยหรือ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้ทำได้ระดับนั้นในตอนนี้ แต่ก็ใกล้เคียงมาก”
“ดังนั้นความท้าทาย คือ ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ AI รู้ว่ามันช่วยพัฒนาธุรกิจได้อย่างไร เพราะถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจ ก็จะไม่ใช้ AI เลย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะตามคู่แข่งไม่ทัน หรือถ้าใช้ก็ใช้ไม่ตรงจุด ไม่ตอบโจทย์ของธุรกิจ”
“วิธีแก้ปัญหาถ้าผู้บริหารไม่มีความเข้าใจ การเสนอแบบ Bottom-Up ก็เป็นไปได้ แต่มันใช้เวลา กว่าผู้บริหารจะเข้าใจ กว่าจะสั่งให้ Implement ในขณะคู่แข่งเขาเข้าใจและใช้ AI ไปแล้ว โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การแข่งขันทางตลาดสูงอย่างในปัจจุบัน จะทำเราไม่สามารถแข่งขันได้”
ทั้งนี้คุณอนุวัฒน์ กล่าวโดยสรุปว่าถึง AI จะสำคัญ แต่ก็ถือเป็นของใหม่ ดังนั้นการสั่งงานแบบ Top-down จึงจะทำให้เกิดได้เร็วและง่ายกว่า ความเข้าใจของผู้บริหารจึงถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
สำหรับแนวโน้มในอนาคต คุณอนุวัฒน์ มองว่า องค์กรต้องเริ่มใช้ AI ทันที เพราะถ้ายังไม่เริ่ม หรือเริ่มช้าจะทำให้ตกขบวนได้ เนื่องจากเข้ามาของ AI คล้ายๆกับการเข้ามาชอง Smartphone ในยุคแรก ๆ ที่หลายๆคนไม่ได้ให้ความสำคัญนัก แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ AI ไม่ใช่เพียงสร้างโอกาสทางการแข่งขัน แต่ยังช่วยลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้านได้มากอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
และนี่คือประโยชน์ของ AI ที่มีความสำคัญต่อการนำไปพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่ง AI ไม่ได้มีไว้สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ หรือจัดการเอกสาร แต่ยังเป็นพนักงานคุณภาพ และทำงานแทนคนได้อีกด้วย ดังนั้นอย่ารอช้า รีบทำความเข้าใจ AI ในหลาย ๆ มุม เพื่อก้าวนำคู่แข่งตั้งแต่วันนี้
********