Big Data

24.01.2025

Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล สิ่งที่ SME ควรเริ่มก่อนตกขบวนสุดท้าย

หากถามถึงบริษัทผู้เชี่ยวชาญเรื่องโซลูชั่นด้านระบบข้อมูลและไอทีเอ็นเตอร์ไพรส์โซลูชั่น ชื่อของ AskMe Solutions and Consultants Co., Ltd. ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่มักได้รับการแนะนำบอกต่อ เนื่องจาก AskMe ให้บริการเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ และบริการดิจิทัลโซลูชั่นมากว่า 20 ปี (ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.2004) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทย ด้วยสำนักงานทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และระยอง สำหรับบทความนี้เราจะว่ากันด้วยความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลองค์กร โดยเฉพาะ SME และการนำ Data มาสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี โดยผู้ให้สัมภาษณ์ก็คือ คุณธวัชชัย ดวงบาล General Manager, AskMe Solutions and Consultants Co., Ltd. ผู้มีประสบการณ์ในงานด้าน Solutions Architect and Data Engineering ยาวนานกว่า 16 ปี

ความสำคัญของ Data Analytics สำหรับธุรกิจ SME
“Data สามารถเอามาวิเคราะห์ แล้วสร้างมูลค่า ต่อยอดธุรกิจได้ ซึ่งเป็นเหมือนขุมทรัพย์ในองค์กร เรื่องนี้คือ Concept ยุคหลังประมาณ 7 – 8 ปีมานี่เอง (เฉพาะในประเทศไทย) โดยเทรนด์นี้มาตอบโจทย์ และสอดรับกับ AI พอดี เดี๋ยวจะอธิบายว่า สอดรับ สอดคล้อง พอดี พอเจาะ อย่างไรบ้าง” คุณธวัชชัย เกริ่นนำ เมื่อถามถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับธุรกิจ SME

GM แห่ง AskMe กล่าวว่าจุดแข็งของ SME คือ ความคล่องตัว ตัดสินใจรวดเร็ว ปรับตัวง่าย เมื่อรวมกับความสามารถด้าน Data Analytics ซึ่งหมายถึง การนำข้อมูลทุกอย่างมาวิเคราะห์และจัดระเบียบ เพื่อใช้มอนิเตอร์ คาดการณ์ และวางแผนในธุรกิจ ก็จะยิ่งเสริมจุดเด่นนี้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะทำให้เห็นข้อต่อต่าง ๆ ภายในบริษัท มองเห็นจุดเด่นที่สามารถเพิ่มความสามารถได้อีก และเห็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข

โดยคุณธวัชชัย ขยายความว่า “เป็นการเติมความแม่นยำให้องค์กร เพราะบางธุรกิจมักวางแผนและตัดสินใจจากประสบการณ์ของผู้บริหาร ฉะนั้นถ้าคุณยังตัดสินใจบนประสบการณ์ตัวเอง ย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้ อีกอย่าง ประสบการณ์ส่วนตัวใครก็ทดแทนคุณไม่ได้ หมายความว่าถ้าคุณไม่อยู่การตัดสินใจก็มีความเสี่ยงที่จะผิดพลาดได้ แต่ถ้าคุณตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล (base on data) นอกจากจะแม่นยำแล้ว ทีมงานก็จะรับไม้ต่อจากคุณไปได้ด้วย”

ส่วนการทำ Data Analytics ให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนนั้น ควรมีที่ปรึกษาผู้มากประสบการณ์ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพ และการถ่ายทอดความรู้ให้ทีมงาน

ขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์ Data ที่เหมาะสมกับธุรกิจ SME
คุณธวัชชัย อธิบายขั้นตอนการจัดการ และวิเคราะห์ Data ว่า

1. ต้องรู้จักกระบวนการทั้งหมดขององค์กรก่อน ไม่ว่าจะเป็น Work Flow ผังลำดับขั้นการทำงาน หรือ Process Flow ผังกระบวนการภายในองค์กร
2. ทำการ Digitalization หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ส่วนไหนยังไม่เป็นดิจิทัลก็ให้ปรับเป็นดิจิทัล เนื่องจากเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันเป็นดิจิทัลทั้งหมด
3. เริ่มกระบวนการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล (Data Platform) ส่วนนี้ คุณธวัชชัย กล่าวว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็น ‘จุดดึงข้อมูล’ ขององค์กรว่าอยู่ตรงไหน ข้อมูลใดยังขาดบ้าง ขั้นตอนนี้จึงเป็น Insight Data ซึ่งก็คือ ข้อมูลเชิงลึก ที่จะทำให้เห็นกระดูกข้อต่อทุกส่วนว่า แต่ละส่วนทำงานอย่างไร ให้ผลอย่างไร มีประสิทธิภาพอย่างไร ตรงไหนยังขาด ถ้าขาดก็เติมให้เต็ม การกระบวนการพัฒนานี้จะอยู่ในแพลตฟอร์ม ของงาน Data อยู่แล้ว พอแล้วเสร็จ ก็จะไปเข้าสู่เรื่องของ Data driven organization หรือการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล

จุดดึงข้อมูลในแพลตฟอร์มข้อมูล Data Platform คืออะไร
เชื่อว่าผู้อ่านอาจเกิดข้อสงสัยว่า จุดดึงข้อมูล คืออะไร ประเด็นนี้คุณธวัชชัย อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบว่า

“ผมขอยกตัวอย่างให้เป็นภาพรวมนะครับ เช่น บ่อน้ำมัน ตอนแรกไม่มีใครรู้ว่า บ่อน้ำมันอยู่ที่ไหน จนกว่าจะมีการสำรวจ เมื่อสำรวจพบ ก็ลองเจาะไปทดสอบดูว่า ใช่จริงไหม แล้วมีมากพอตั้งโรงกลั่นไหม ถ้าใช่น้ำมันจริง มีเพียงพอ ก็ทำธุรกิจได้ อันนี้แหละเรียกว่าจุดดึงข้อมูล”

ความสัมพันธ์ของ Data Analytics กับ AI
หลังจากที่เกริ่นนำในตอนต้น เมื่ออธิบายความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว คุณธวัชชัย ก็ได้พูดถึงความสอดคล้องระหว่าง Data กับ AI ต่อ โดยใช้ Time line ของบริษัท AskMe ประกอบ

คุณธวัชชัยกล่าวว่า ตั้งแต่ AskMe ก่อตั้งเมื่อปี 2004 ก็ให้บริการอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น IT Management, Monitoring, Backup ไปจนถึงบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที กระทั่ง ปี 2016 ได้เห็นถึงเทรนด์ของ Data จึงเปิดบริการใหม่เพิ่มเติม คือ Power BI ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Data Analytic เพื่อทำให้องค์กรต่าง ๆ ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านโซลูชั่น Microsoft Power BI และ Power Platform

“จริง ๆ เราเริ่มให้บริการราว ๆ ต้นปี 2013 แต่มาชัดเจนตอนปี 2016 เรียกว่า BI by AskMe” คุณธวัชชัยกล่าว

คุณธวัชชัยยังกล่าวอีกว่า ที่กระโดดเข้ามาให้บริการ Data Analytic เพราะมองเห็นว่าในอนาคตข้อมูลจะเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็จริงตามนั้น เพราะหลังจากนั้นระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation ซึ่งคือการนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนคนในหลาย ๆ เรื่องก็ตามมา ทำให้เห็นชัดเจนว่า กระบวนการของ Data รอไม่ได้ และสำคัญ

ต่อมา ระบบ Real Time Monitoring ซึ่งเป็นระบบที่สามารถแสดงสถานะการทำงานและชี้วัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรได้แบบเรียลไทม์ก็เข้ามา ส่งผลให้ในปี 2022 บริษัท AskMe ตัดสินใจนำแพลตฟอร์ม Grafana เข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์ จึงทำให้โซลูชั่นด้าน Data Analytic ของ AskMe มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง เนื่องจากทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มระดับโลกถึง 2 แพลตฟอร์ม โดยคุณธวัชชัย ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เพิ่มเติมว่า

“ดังนั้น 2 แพลตฟอร์มนี้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ SME ทั้งหลาย ผ่านด่านวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้ามาทุกวันนี้ได้ เพราะทุกคนต้องมอนิเตอร์ตัวเอง ต้องจัดการอนาคตอย่างแม่นยำ”

“ปี 2024, Generative AI ก็มาพอดี นี่คือความสอดคล้องที่ผมเรียนก่อนหน้านี้ พอมองไทม์ไลน์ตรงนี้ ทุกคนจะเริ่มเห็นว่า จริง ๆ แล้ว กระบวนการของเทคโนโลยีมันเทไปทาง Data และ Real Time Monitor ถัดไปก็เป็นกระบวนการที่มาช่วยเสริมนั่นคือ Robotic ฉะนั้นพื้นฐานที่สำคัญของความยั่งยืนของธุรกิจจึงเป็น Data”

“ลองคิดดู หากคุณต้องนำเทคโนโลยี AI เข้ามาทำงาน แต่ยังไม่ได้พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลที่ดีพอ ยังไม่ได้รวบรวม Data แต่คุณซื้อ AI เข้ามาเริ่มทำงานทันที ทั้งนี้ AI กินข้อมูลนะครับ คุณต้องป้อนข้อมูลมูลให้ AI มันเรียนรู้ ฉะนั้นถ้าคุณต้องรอข้อมูลเพื่อป้อนให้ AI ซึ่งแปลว่า คุณกำลังเผาเงินทิ้ง เนื่องจาก AI ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ในทางกลับกัน ถ้ามีข้อมูลพร้อมแล้ว เมื่อซื้อ AI เข้ามาใช้ ระบบก็จะป้อนข้อมูลเข้า AI โดยอัตโนมัติ อย่างต่อเนื่อง ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพทันที”

Data driven organization พลังของการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล
คุณธวัชชัยได้เปิดข้อมูลสรุปถึงสิ่งที่จะได้รับ เมื่อมีการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลดังนี้

1. ช่วยให้ประมวลผลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ มีข้อมูลเชิงลึกประกอบการตัดสินใจ ทำให้วางแผนกลยุทธ์ได้ทันท่วงที
2. ช่วยดำเนินธุรกิจให้คล่องตัว ตัดสินใจเร็ว ความคล่องตัวของ SME คือความได้เปรียบกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ที่เขาขาดความคล่องตัว
3. องค์กรมีการจัดชุดข้อมูลอย่างเป็นระบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องฝึกอบรมพนักงงานให้เข้าใจ Data driven ด้วย เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ข้อนี้คุณธวัชชัย เสริมเพิ่มเติมว่า “Platform Power BI เพื่อพัฒนากระบวนการ Data driven นี้ ผมขอใช้คำว่า Self Service BI คือหลังจากที่คุณมี Report เพื่อมอนิเตอร์ระบบแล้ว จากนั้นก็จะสามารถปรับปรุงอะไรได้ด้วยตัวเอง เพื่อความรวดเร็ว คล่องตัว ตรงตามวัฒนธรรมองค์กรตัวเอง”
4. สุดท้ายถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บดี ข้อมูลสะอาด มีความแม่นยำ เมื่อเอาเข้า AI ก็จะได้ความแม่นยำมาก ยกตัวอย่างเหมือนหากนำน้ำคลำป้อนให้ AI ผลลัพธ์ก็จะไม่ได้น้ำสะอาดพร้อมดื่มเช่นกัน ดังนั้นการเตรียมข้อมูลที่ดี จะทำให้องค์กรตัดสินใจได้แม่นยำ มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ คุณธวัชชัย ยังได้อธิบายผลที่จะได้รับ ต่อการทำ Data driven เพิ่มเติมว่า

“อย่างแรกเลย ทุกอย่างถ้าทำ Data driven ข้อมูลจะเป็นปัจจุบัน เป็นความจริง ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแผนกได้ผ่านชุดข้อมูลเดียวกัน (Single point of view) แล้วคุณก็จะมีเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจได้ใกล้เคียงคำว่าแม่นยำมากขึ้น และจะแม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ”

“สอง. ทำให้คล่องตัว สามารถค้นหาตลาดเฉพาะ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน”

“สาม. ลดเวลา เพิ่มศักยภาพการติดต่อเจรจา เรื่องของเวลา หลายแห่งบอกว่าไม่จำเป็นหรอก ผมมีทีม แล้วผมก็มีระบบ ERP (Enterprise Resource Planning ระบบที่ใช้ในการวางแผน) สามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ มี Report ให้ แต่สุดท้ายแล้ว ยังไงครับ? ปรากฏว่า อยู่ต่างประเทศ ต้องรอลูกน้องส่งรายงานให้ จบเลย! เพราะต้องรอ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการอีกเจ้าหนึ่ง ทำ Data driven เขาพิจารณาตัดสินใจได้เลยนะ เพราะมีแดชบอร์ดดูข้อมูลได้เป็นปัจจุบัน Real-Time Monitoring คือ ถ้าเมื่อไรคุณสามารถเห็นสถานะขอกระบวนการได้แบบเป็นปัจจุบัน มันจะช่วยให้บริหารจัดการ และตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจได้ดีมากขึ้นแน่นอน”

“สี่. สุดท้าย ราคา วิธีที่จะทำให้ธุรกิจเราโตขึ้น คือ ลดต้นทุน ซึ่งการลดต้นทุนจะทำอย่างไร ก็ต้องไป Monitor Process ว่าสามารถลดต้นทุนตรงไหนได้บ้าง โดยที่คุณภาพสินค้ายังคงเดิม หรือดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นข้อมูลจึงมีค่า

เมื่อถามว่าองค์กรจำเป็นต้องทำ Data driven หรือไม่ เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งต้องใช้เงินลงทุน คุณธวัชชัย ถามกลับว่า

“จริง ๆ แล้ว เวลาคุณไปแข่งกับองค์กรใหญ่ ที่มีเงินลงทุน ทรัพยากรต่าง ๆ เขาก็เยอะกว่า ไม่ว่าจะเป็นกำลังคน คุณภาพคนเขาก็ดีกว่า เครื่องมือเขาก็เจ๋งกว่า อัตราต่อรองในตลาดเขาก็เหนือกว่า แล้วคุณจะแข่งกับเขาอย่างไร ถึงรู้ว่าเป็นรอง คุณก็ต้องแข่งใช่ไหม? เพราะตลาดมันตรงกัน ฉะนั้นถ้าทำ Data driven เครื่องมือพวกนี้มันจะเข้ามาช่วยให้คุณเห็นสถานะการณ์ของตัวเอง เห็นช่องทางการแข่งขัน ตัดสินใจได้เร็วขึ้น มีความคล่องตัวในการแข่งขันมากขึ้นแน่นอน”

นอกจากโซลูชั่นด้านวิเคราะห์ข้อมูล จะช่วยให้แข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ได้สูสีแล้ว ยังเอื้อให้ผู้ประกอบการทำงานได้ง่ายขึ้น ส่วนนี้คุณธวัชชัยให้เหตุผลว่า เนื่องจากคนที่เปิดธุรกิจย่อมมีความรู้ความชำนาญในสายงานนั้น ๆ มองธุรกิจออก แต่ประเด็น คือ SME ทุกคนต้องโต เวลาขายของได้ มีออเดอร์ ก็ต้องผลิต แล้วส่ง ซึ่งส่วนมากผู้ประกอบการใช้ประสบการณ์ของตัวเองในการดำเนินการ ต้องดูแลควบคุมเอง ซึ่งจะเป็นการทำงานหนัก เสี่ยงเครียดสูง แต่ถ้าทำ Data driven ไว้ ก็สามารถถ่ายทอดความรู้ให้พนักงานได้ ใครเข้ามาใหม่ก็สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว ลดภาระงานของผู้ประกอบการลงได้มาก โดยที่ธุรกิจยังเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เหมือนสิ่งที่ผมคุยไว้ AI เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของทุกธุรกิจ ถ้าธุรกิจไหนยังไม่เริ่มใช้ แสดงว่าคุณช้ากว่าที่อื่นแล้ว การแข่งขันของคุณก็อาจจะสู้คนอื่นไม่ได้”

โซลูชั่นสำคัญสำหรับ Data Analytics และกรณีตัวอย่าง

คุณธวัชชัย เริ่มต้นด้วยการชี้ชวนให้มองความสัมพันธ์ขององค์กรว่า ในองค์กรมีวงจรที่เชื่อมโยงกัน การตลาด การขาย ฝ่ายบุคคล แม้อยู่คนละส่วน แต่สัมพันธ์กัน เพราะต้องทำงานให้สอดคล้องกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

“ข้อดีของ Data driven คือ สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือแดชบอร์ด คุณจะเห็นสถานะ ณ ตอนนี้ว่า กระบวนการอยู่ตรงไหน ติดขัดตรงไหน ตรงไหนช้ากว่าปกติ ตรงไหนเกิน เช่น ทำไมวันนี้มีรถขนส่งค้างเยอะ แล้วมีออร์เดอร์เข้ามาไหม หรือเข้ามาน้อยกว่าเกณฑ์ สามารถดูได้ทันทีทุกระบบ และสัมพันธ์กัน”

“ผมขอยกกรณีตัวอย่างขององค์กรหนึ่ง ซึ่งก่อนจะ Implement หรือดำเนินการ Data Analytics พบว่า ธุรกิจเขาค่อย ๆ เติบโต จึงซื้อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ ปรากฏว่าซื้อเป็นส่วน ๆ ไม่สัมพันธ์กัน คือ มีเครื่องจักร มีแขนกล แต่ยังใช้คนกรอกข้อมูลลง Excel อยู่ มันจึงขัดแย้งกัน”

“อีกกรณีหนึ่ง ซื้อระบบเซลล์ที่ดีมากมาใช้ แต่ผ่านมาแล้ว 10 ปี ปัญหาที่ตามมา คือ แม้มีข้อมูลเยอะแต่เก่าแก่ และไม่สามารถเชื่อมกับระบบอื่นได้”

จากปัญหาข้างต้น คุณธวัชชัยบอกว่า โซลูชั่นของ AskMe สามารถเชื่อมโยงเพื่อนำข้อมูลเก่าใหม่มารวบรวมให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกันได้ทั้งหมด

BI by AskMe คือ บริการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล ด้วย Power BI สำหรับองค์กร Power BI จัดเป็นระบบ Business Intelligence Technology ที่ช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เครื่องมือสำหรับทำ Data Analytics ที่เปี่ยมประสิทธิภาพและมีเครื่องมือรับรองที่หลากหลาย

คุณธวัชชัย กล่าวว่า นอกจากเป็นโซลูชั่นสารพัดประโยชน์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังมี Tools ที่สำคัญอีกหลากหลาย ได้แก่

Power Automate: เครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบอัตโนมัติที่ช่วยลดภาระงานของบุคคลากร และลดเวลาที่จะต้องรอของแต่ละกระบวนการ ตัวอย่าง เช่น สามารถตรวจสอบอีเมล ค้นหาไฟล์แนบที่เกี่ยวข้องกับแผนกต่าง ๆ แล้วเซฟไปวางไว้ยังโฟลเดอร์กลาง เพื่อให้พนักงานแผนกนั้น ๆ นำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมานั่งตรวจเช็คอีเมล หรือใช้สำหรับพัฒนาระบบขออนุมัติภายในองค์กร Approval ได้เช่นกัน

Microsoft Copilot (AI): ผู้ช่วยคนใหม่ภายในองค์กร ท่านสามารถพัฒนา Chat ผู้ช่วยภายในองค์กรของคุณเองได้ ตัวอย่าง เช่น สามารถเป็นพี่เลี้ยงที่ยอดเยี่ยมสำหรับช่วยค้นหารายงานที่อัปเดตล่าสุด หรือฉบับแก้ไขล่าสุด มาให้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว หรือขั้นกว่า เช่น ช่วยค้นหาข้อมูล part number จากระบบฐานข้อมูลเป็นต้น

Robotic Process Automation (RPA): ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่เข้ามาช่วยทำงานแทนคน ในกระบวนการด้านการบันทึกข้อมูลและส่งออกข้อมูล และอื่นๆที่เป็นงานซอฟต์แวร์ เช่น อ่านข้อมูลจากเอกสารสแกนผ่าน OCR แล้วนำไปบันทึกเข้าสู่ระบบ ERP โดยอัตโนมัติ

Data Connectors: ภายใต้การให้บริการของ Microsoft ที่เขาเตรียมพร้อมรองรับไว้หลากหลายแอปพลิเคชั่น ณ ปี 2024 มีมากกว่า 1,000 บริการ จึงทำให้เชื่อมต่อได้ทุก platform

โซลูชั่นของ Power BI ภายใต้ Microsoft และ Microsoft Power Platform ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งนี้ขอนำความสามารถอื่น ๆ ที่คุณธวัชชัย กล่าวไว้มาสรุปดังนี้

“ระบบยังมีกระบวนการอัจฉริยะ ที่สามารถอ่านพาสปอร์ต, QR Code, บาร์โค้ด, สแกนข้อความ ที่อยู่ในแบบรูปภาพ หรือไฟล์ถ่ายเอกสาร ถอดมากรอกให้โดยอัตโนมัติในระบบฐานข้อมูล”

“นอกจากนี้ระบบของเรา ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งแพลตฟอร์มได้เอง เช่น ไม่ชอบสีพื้นหลังของแพลตฟอร์มที่เราตั้งเป็นพื้นฐานให้ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นสีที่ชอบเองได้ หรือเปลี่ยนรูปแบบของกราฟได้ด้วยตนเอง”

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ Power BI ช่วยให้ทุกคนในองค์กร มองเห็นข้อมูลตรงกัน แม้มองจากคนละมิติ

ทำไมถึงมองคนละมิติ แต่เป็นข้อมูลเดียวกัน ประเด็นนี้ คุณธวัชชัย อธิบายว่า เช่น ทีมขายจะดูยอดขายและต้นทุนการขาย การเงินมองยอดรับและยอดซื้อ บัญชีดูงบดุล คุณจะเห็นว่าแค่ชื่อเรียกก็ไม่เหมือนกันแล้ว เมื่อประชุมกัน ย่อมยืนคนละมุม เถียงกันไม่จบ งานไม่เดิน ธุรกิจไม่ก้าวหน้า หากมีระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมตัวเลขของทั้งสามหน่วยงานนี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร้รอยต่อ การประชุมจะง่ายขึ้น ลดความขัดแย้งลงได้มาก และมีเวลาที่จะปรับปรุงในเรื่องๆใดที่จำเป็น ทุกคนก็จะเห็นข้อมูลทิศทางเดียวกัน เปลี่ยนเป็นการประชุมหารือเพื่อแก้ไขจุดขาด ส่งเสริมจุดบวก อย่างมีประสิทธิภาพ

“เวลาประชุม ผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของ AskMe หลายเจ้า ให้พนักงานทำรายงานผ่าน Power BI แทน Power Point เลยครับ เพราะว่าข้อมูลเป็นเรียลไทม์ ประชุมด้วยแก้ไขได้ด้วยทันที รวดเร็วทันท่วงที” คุณธวัชชัย กล่าว

จากคำอธิบายเพิ่ม ทางผู้สัมภาษณ์เกิดข้อสังสัย แบบนี้ใครก็ได้หรือ ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลบริษัท คุณธวัชชัยตอบว่า

“จริง ๆ มีระเบียบข้อบังคับเรื่องสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอยู่ ภาษาบ้านเราเรียกว่า Data governance คือ มาตรฐานการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล เช่น ระบุว่าใครบ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดใดได้บ้าง และลึกระดับใดครับ”

ก็คือข้อมูลสำคัญ ไม่ใช่ทุกคนเข้าถึงได้ อาจเป็นหัวหน้าแผนก แต่เวลาประชุมหารือกัน ทุกคนจะเห็นภาพเดียวกัน

OT – IT ตัวอย่างของการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัย
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า OT – IT กันก่อน คุณธวัชชัย อธิบายว่า ปกติในระบบทำงานของโรงงาน แยกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนผลิต ก็พวกเครื่องจักรต่าง ๆ เรียกว่า OT ย่อมาจาก Operational Technology อีกส่วน คือ IT มาจาก Computers and Information Technology หมายถึงส่วนสารสนเทศ ก็พนักงานออฟฟิศทั่วไป

ฝ่าย OT แม้จะมีคอมพิวเตอร์ควบคุม แต่โดยมาตรฐานแล้วจะเป็นระบบปิด ไม่อนุญาตให้เชื่อมโยงกับภายนอกองค์กรเด็ดขาด หากต้องการนำข้อมูลการผลิตมาวิเคราะห์ พนักงานต้องเข้าไปจัดการด้วยวิธีทำมือ (Manual) บางที่ใช้วิธีการนำข้อมูลออกจากจากคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วย USB Drive แล้วส่งไฟล์ข้อมูลเข้าสู่ระบบ IT ก่อนจึงจะเริ่มกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยง คือ อาจติดไวรัสจากภายนอกได้ นอกจากนี้ คือ ล่าช้า แต่ถ้ามีการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเชื่อมโยง OT-IT ผ่านระบบความปลอดภัยมาตรฐาน ก่อนนำมาวิเคราะห์ผลด้วย Power BI จะช่วยให้ OT กับ IT เชื่อมโยงกันอย่างมีปประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้พนักงานเดินไปรับข้อมูล และไม่รั่วไหลออกภายนอก

เป้าหมายในอนาคตของ AskMe
เมื่อถามคุณธวัชชัย เกี่ยวกับเป้าหมายในอนาคตของ AskMe ก็พบว่า หากองค์กรละเลย Data Analytics ตกขบวนธุรกิจแน่นอน

“การประเมินด้านเทคโนโลยี ณ ปัจจุบัน (บทความเขียน ปี 2024) ภายใน ปี 2030 จะเป็นยุค AI Smart City จะมีกระบวนการทางได้ AI มารองรับหมด ทั้ง การกิน การอยู่ การเดินทาง หากนับปี เราเหลือเวลาแค่ 6 ปีเท่านั้น บางท่านอาจไม่เข้าใจ ฉะนั้นผมขอยกตัวอย่างแบบนี้ ขอให้นึกถึงรถยนต์ไฟฟ้า EV ตอนนี้เราอยู่ใน Gen 2 นะครับ จากข้อมูลงานวิจัยและแนวโน้มการพัฒนา พบว่า EV Gen 5 คือ รถขับอัตโนมัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ AI Smart City นั่นหมายความว่า ยังเหลืออีก 3 สเต็ป ซึ่งมันจะก้าวกระโดดมาก หากเราไม่ตระหนัก ตามไม่ทันแน่นอน”

“ผมเชื่อว่าผู้บริหารทุกคนมองเห็นภาพรวม แต่บางส่วนอาจเชื่อมั่นในประสบการณ์ตัวเอง หากยังมองไม่เห็นความสำคัญของ Data Analytics”
“ปัจจุบันมี AI ให้ทดลองใช้ฟรี ทดสอบดูได้ครับ หรือยังไงปรึกษากับ AskMe ก่อนเริ่มก็เหมาะครับ”

ช่องทางการติดต่อ AskMe Solutions and Consultants Co., Ltd.
Website: https://www.askme.co.th
Tel. (66) 2245-1335-7
Line ID. @askme
Email: info@askme.co.th, sales@askme.co.th

*********

RECOMMEND