SaaS/Cloud Services

Construction Tech

Startups

Innovation

Digital

Software for Business

01.11.2024

【Change Your Business with KAIZEN】แอปพลิเคชัน “Modely” สำหรับตรวจสอบการวางเหล็กและรายงานผลด้วยแท็บเล็ตเครื่องเดียว ประหยัดแรงงานและลดจำนวนคนทำงานได้ด้วย “Hatsuly” สำหรับงานสกัด

เหล็กเสริมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีต เช่น อาคารและสะพาน ประเทศญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงมีมาตรฐานการติดตั้งที่เข้มงวด และจำเป็นต้องทำการตรวจสอบการวางเหล็กตามกฎหมายในระหว่างการก่อสร้าง
แต่ว่าการตรวจสอบนี้มักต้องใช้แรงงานจำนวน 3-4 คน และเป็นงานที่หนักและใช้เวลานาน ข้อมูลจำนวนมากที่ต้องวัดจะต้องถูกรวบรวมเป็นรายงาน ซึ่งทำให้การทำงานเป็นเรื่องยากลำบาก อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการทำงานล่วงเวลาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันดี

“Modely” คือระบบการตรวจสอบการวางเหล็ก 3D ที่เพิ่งเปิดตัว ซึ่งช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลผ่านแท็บเล็ต ทำการวัดและสร้างรายงานได้ในทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานหรือแรงงานจำนวนมาก

■ใช้เทคโนโลยี LiDAR วัดระยะทางด้วยแสงอินฟราเรด

Modely ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท DataLabs (Tokyo) ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2020 โดย CEO คุณ Daisuke Tajiri หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เขาได้เข้าร่วมงานที่ JAXA โดยมีส่วนร่วมในโครงการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม และทำงานในบริษัทวัดแบบสามมิติด้วยโดรน ทีมงานที่สนับสนุนเขามีความเชี่ยวชาญด้านการประมวลผลภาพ การเงิน กฎหมาย และบัญชี ถือเป็นบริษัทที่มีอนาคตดี

Modely ใช้เทคโนโลยี “LiDAR” (Light Detection and Ranging) ที่ใช้แสงอินฟราเรดในการวัดระยะทางและรูปร่างของวัตถุ โดยข้อมูลจุดที่ได้จากการวัดจะถูกวิเคราะห์และแปลงเป็นโมเดลสามมิติด้วยอัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นเอง และสร้างรายงานค่าที่วัดได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกลไกพื้นฐานของการทำงาน ถ้ามีฟังก์ชัน LiDAR ติดตั้งอยู่ อุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตใด ๆ ก็สามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะในตลาดประเทศไทยซึ่งมีการใช้เครื่อง Android เป็นจำนวนมาก ถือเป็นเรื่องดีมากที่ใช้ได้โดยไม่จำกัดรุ่นอุปกรณ์

ด้วยการใช้เทคโนโลยีนี้ การตรวจสอบการวางเหล็กที่เคยใช้เวลานานในที่กลางแจ้งที่มีอากาศร้อนจึงกลายเป็นเรื่องง่าย ช่วยให้เวลาในการทำงานลดลงอย่างมาก และสามารถทำงานเพียงคนเดียวได้ การสร้างรายงานหลังการวัด ซึ่งถือเป็นงานรองก็ถูกทำโดยอัตโนมัติ ช่วยลดการทำงานล่วงเวลา จากตรวจสอบที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม พบว่าModely สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 40% และลดเวลาทำงานได้ถึง 80% ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในการจัดหากำลังแรงงานได้อย่างแน่นอน

ในเดือนกันยายน 2024 Modely ได้รับการเลือกเป็นหนึ่งใน “เทคโนโลยีส่งเสริมการใช้งาน” ในโครงการรางวัลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น ทำให้จากนี้จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมาก และในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ได้รับรางวัลส่งเสริมสตาร์ทอัพจากรางวัล Infrastructure DX ทำให้ความสนใจใน Modely เพิ่มสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

■แชร์ข้อมูลระหว่างผู้สั่งซื้อและระบบคลาวด์

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สำคัญซึ่งพัฒนาขึ้นจาก Modely คือ ระบบการตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน 3 มิติ “Hatsuly” ที่เริ่มวางจำหน่ายในเดือนตุลาคม 2023 โดยชื่อ “Hatsuly” มาจากงาน “การขัด” เป็นการซ่อมแซมผิวของอาคารคอนกรีตที่ชำรุด โดยการขัดผิวนี้เพื่อซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงให้กับเหล็กที่อยู่ภายใน ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและขั้นตอนที่เข้มงวด เป็นเหตุให้เกิดการทำงานหนัก ที่ต้องใช้แรงงานจากคนงานหลายคนในสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการทำเอกสารรายงานจำนวนมากหลังการวัดได้อีกด้วย

Hatsuly ใช้ข้อมูล 3 มิติของจุดที่ทำการขัด ที่ถูกบันทึกด้วยสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต โดยจะคำนวณอัตโนมัติในเรื่องของรอยแตก พื้นที่ของรอยแตก ความลึกและปริมาณของการขัด รวมถึงปริมาณมอร์ตาร์ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อทำรายงานตามโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนด สามารถแชร์ข้อมูล 3 มิติและรายงานระหว่างผู้สั่งซื้อได้เหมือนกับ Modely และสามารถสิ้นสุดการตรวจสอบบนระบบคลาวด์ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการก่อสร้างทุกด้าน

ในกรณีศึกษาผลของการใช้งานโดยบริษัทก่อสร้างใหญ่แห่งหนึ่ง พบว่าการวัดการซ่อมแซมที่ต้องใช้คน 2 คนที่เคยต้องใช้เวลา 5 นาที ถูกลดลงเหลือเพียงไม่กี่วินาทีจนถึง 30 วินาทีต่อการทำงานเพียงคนเดียว ส่งผลให้สามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้มากกว่า 50 ชั่วโมงในกระบวนการทำงานทั้งหมดมากถึง 1,200 จุด โดยตอนนี้บริษัทก่อสร้างชั้นนำที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้นำไปใช้งานแล้ว

■มุ่งมั่นปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย

การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานในประเทศไทยเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มเข้ามามีบทบาท หลังจากผ่านไปครึ่งศตวรรษ ในปัจจุบันมีการเสื่อมสภาพในวงกว้าง จนถึงเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไทยมีท่าทีตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ด้วยแนวทาง “การรื้อถอนและสร้างใหม่”
แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับงบประมาณที่สูงลิ่วและต้องการรรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางเป็นมุ่งเน้นการบำรุงรักษาและขยายอายุการใช้งานต่อไป
ภายใต้สถานการณ์นี้ หลายบริษัท รวมถึงรัฐบาลได้เปลี่ยนทิศทางและหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดที่คาดหวังว่าจะมีการใช้งานซอฟต์แวร์ Modely และ Hatsuly ที่พัฒนาโดย DataLabs

ในการแสดงงานด้าน Digital Transformation ที่ชื่อ “DigiTech ASEAN Thailand” ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทางบริษัทตั้งใจเน้นย้ำถึงประเด็นที่ว่า “ถ้าเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นสามารถมีส่วนช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยได้ จะถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก และเราคิดว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน” CEO คุณ Tajiri กล่าว พร้อมกับเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการจัดการการก่อสร้างและวัฒนธรรมการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ดังนั้นเราจะเจรจาเพื่อหาข้อสรุปว่า สิ่งใดที่ผู้คนสนใจ และสิ่งใดที่เรายังขาดอยู่ เพื่อนำข้อมูลนี้ไปปรับใช้ในธุรกิจต่อไป”

Related Articles

RECOMMEND