SaaS/Cloud Services

FinTech

Innovation

Software for Business

EC, O2O, Omnichannel

Payment, Cashless

02.08.2024

【Business Software Making Waves in Vietnam】ที่เวียดนามก็คุ้นชินกับบริการเก็บเงินปลายเช่นกันหรือ? สิ่งที่ Net Protections ตั้งเป้าหมายในตลาด e-commerce นั้นคืออะไร

บริการจ่ายเงิน BNPL (Buy Now Pay Later) ที่สามารถดำเนินเรื่องการจ่ายเงินแบบจ่ายภายหลังได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องตรวจเช็คเข้มงวดแบบบัตรเครดิต แน่นอนว่าในประเทศญี่ปุ่นมีระบบนี้ใช้อยู่แล้ว ตอนนี้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็เริ่มใช้วิธีนี้เป็นการจ่ายเงินอีกทางเลือกหนึ่ง ในคราวนี้ เราได้ไปพูดคุยกับ Mr.Tsukasa Nishiura ตำแหน่ง General Director ของ Net Protections Vietnam Co., Ltd. นิติบุคคลจากเวียดนาม ซึ่งเป็นรายเดียวกับผู้ให้บริการระบบจ่ายเงินภายหลังที่ให้บริการในญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อบริษัท Net Protections Holdings, Inc.

เปิดให้บริการเก็บเงินภายหลังที่ในประเทศญี่ปุ่น มีผู้ใช้งาน 1 ใน 7 ราย

ช่วยบอกเล่าเกี่ยวกับบริการของบริษัทหน่อยครับ

บริษัทของเรา เป็นบริษัทที่ให้บริการจ่ายเงินแบบเก็บเงินภายหลัง (BNPL) ซึ่งก่อตั้งในปี 2000 และ เปิดให้บริการในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2002 ในตอนนี้ก็มีศูนย์อยู่ที่โตเกียว, คันไซ, คิวชู มีการขยายไปยังต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ก็มีที่ไต้หวันและเวียดนามด้วย

บริการจ่ายแบบเก็บเงินภายหลังนั้น ถ้าให้พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นระบบที่ได้รับของก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินนั่นเอง ให้ลองนึกถึงแคตตาล็อกขายสินค้าแบบสมัยก่อน ที่จะมีใบเรียกเก็บมาพร้อมกับสินค้า แล้วเราก็นำไปจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อ

เราได้รับการว่าจ้างจากบริษัทมากมายให้ดูแลการทำระบบจ่ายเงินแบบนี้ ณ ตอนนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น อัตราส่วน 1 ใน 7 ราย กำลังใช้วิธีการจ่ายเงินแบบนี้ของบริษัทเรา

นอกจากการจ่ายเงินแบบเก็บภายหลังของ BtoC แล้ว เรายังรองรับการจ่ายเงินเป็นเครดิตระหว่างบริษัทแบบ BtoB อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน บริษัทของเราจะเข้าไปอยู่ตรงกลาง เพราะทำการเรียกเก็บและรับผิดชอบความเสี่ยงในการเก็บเงิน

เป็นโมเดลธุรกิจที่เราจะรับเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย เพื่อทดแทนกับการรับประกันเงินเต็มจำนวน

จุดแข็ง คือ แม้จะคล้ายกับบัตรเครดิต แต่ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก แค่ใช้รหัสในโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถใช้งานได้ทันที
ทั้งคนที่ไม่สามารถทำบัตรเครดิตได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น “ไม่มีบัญชีธนาคาร” “อายุไม่ถึงกำหนดทำ” ก็สามารถจ่ายแบบเก็บเงินภายหลังได้

ความแตกต่างจากบริการเก็บเงินภายหลังอื่น ๆ นั้นคือ วิธีการป้องกันความเสี่ยง เราจะยืนอยู่ในจุดของผู้ประกอบการ พยายามเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและค้าขายเพิ่มขึ้น พยายามลดการใช้ข้อมูลที่มากเกินไป ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพื่อป้องกันลูกค้าหนีหายไป

อีกทั้ง การทำธุรกรรมใน Grey Zone ที่บริษัทอื่นมักจะหลีกเลี่ยง เราก็ “อย่าเพิ่งมองในแง่ร้ายไปก่อน” ถ้ายังไม่มีหลักฐาน ก็จะยังให้สิทธิ์ในการใช้งานต่อไป ในกรณีที่ไม่ยอมจ่ายเงิน ก็จะโดนเก็บในสัดส่วน 0.6% จากราคาเต็ม ถือเป็นราคาที่ค่อนข้างถูกมาก

3 เหตุผลที่เลือกตลาดเวียดนาม เช่น การเติบโตของตลาด e-commerce

ทำไมถึงเลือกเวียดนาม จากบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

มี 3 เหตุผลครับ อย่างแรกคือ การเติบโตของตลาด e-commerce คาดการณ์ว่าตลาด e-commerce ที่เป็นสนามรบหลักจะเติบโตขึ้นอีก

อย่างที่ 2 คือ ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน ต้องดูว่ามีคู่แข่งที่ให้บริการคล้ายกันหรือไม่ มีขนาดการลงทุนใหญ่แค่ไหน

อย่างที่ 3 ด้านกฎหมายและข้อบังคับ ถ้าถือว่าบริการจ่ายเงินแบบเก็บเงินภายหลังเป็นธุรกรรมการเงินแบบหนึ่ง ก็จำเป็นต้องใช้เงินทุนที่มาก ก็จะมีอุปสรรคในการเข้าร่วมมากขึ้น แต่ที่เวียดนามถือว่าสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างค่อนข้างยืดหยุ่น

เรื่องขนาดของตลาดนั้น ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะใหญ่กว่า แต่การแข่งขันของบริการเก็บเงินภายหลังนั้นสูงมาก เมื่อลองดูขนาดกำลังการลงทุนแล้ว การไปประสบความสำเร็จที่เวียดนามก่อน จากนั้นค่อยขยับขยายไปยังประเทศอื่นน่าจะเหมาะสมกว่า

เป้าหมายใหญ่นั้น คือการขยายบริการเก็บเงินภายหลังไปยังประเทศทั่วเอเชีย ผู้ขายสามารถขายของได้โดยที่ไม่ต้องกังวลต่อผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อก็สามารถจ่ายเงินได้แบบมีความยืดหยุ่น อยากจะให้วัฒนธรรมนี้แพร่ขยายออกไปครับ

แต่เนื่องจากเรายังไม่มีประสบการณ์ในต่างประเทศมาก่อน ปี 2018 จึงได้เริ่มให้บริการจ่ายเงินแบบเก็บภายหลังที่ไต้หวัน พอประสบความสำเร็จที่ไต้หวัน จึงค่อยไปสู่ขั้นต่อไป โดยขยายไปเวียดนามในปี 2022

ตลาด e-commerce ของเวียดนามนั้นมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นแล้ว มีความสนใจพุ่งตรงไปยังเว็บไซต์ช้อปปิ้งมอลล์มากกว่า มีแนวโน้มว่าคนนิยมซื้อของจากเว็บไซต์ช้อปปิ้งมอลล์ มากกว่าซื้อจากเว็บของแบรนด์โดยตรง
เว็บไซต์ระดับต้น ๆ นั้น มียอดขายต่อเดือน ดังนี้ No.1 Shopee ประมาณ 6 ล้าน US Dollar, No.2 Tiktok Shop ประมาณ 2 ล้าน US Dollar, No.3 Lazada ประมาณ 1 ล้าน US Dollar

สำหรับแบรนด์ใหญ่จะวางขายทั้งในเว็บของแบรนด์ตัวเอง และในเว็บช้อปปิ้งมอลล์ แต่ในเว็บช้อปปิ้งมอลล์จะมียอดขายที่ดีกว่า ในฝั่งของแบรนด์นั้น ใจจริงก็อยากจะให้คนเข้ามาซื้อในเว็บของแบรนด์มากกว่า เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ในมุมมองของผู้บริโภคนั้น มองว่า “ถ้าจะซื้อ ก็ซื้อที่เว็บช้อปปิ้งมอลล์ดีกว่า”

การแสวงหาประสบการณ์ของลูกค้าที่ทั่วถึง

สภาวะการตอบรับที่มีต่อบริการที่เวียดนามเป็นอย่างไรบ้างครับ

ที่เวียดนามนั้นได้รับการตอบรับที่ดีมาก ผู้ให้บริการ e-commerce รายใหญ่เจ้าหนึ่ง กล่าวว่า 18% เป็นการจ่ายเงินแบบเก็บภายหลัง

ที่เวียดนามนั้น ความต่อต้านที่มีต่อการซื้อของออนไลน์นั้นมีน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยหนุ่มสาวช่วงอายุ 20 – 30 ปี ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เน้นการซื้อของความคุ้มค่า กลุ่มที่ใช้เพื่อผ่อนเวลาระหว่างรอวันเงินเดือนออกครั้งต่อไปก็มีเยอะ

แต่ว่าลูกค้านั้นก็มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาร้านค้าที่ตัวเองเป็นสมาชิกอยู่ ตัวอย่างเช่น ในเคสของร้านเครื่องสำอาง จะมีลูกค้าเป็นผู้หญิงวัย 20 – 30 ปี อยู่เป็นจำนวนมาก พูดอีกอย่างคือ แทนที่จะบอกว่าบริการเก็บเงินปลายทางนั้นโดนใจลูกค้ากลุ่มไหน ให้มองว่ากลุ่มผู้ใช้บริการคือ ลูกค้าที่เป็นสมาชิกของร้านค้านั้นอยู่แล้วจะตรงกว่า

ร่วมมือกับแบรนด์ต่างๆ

จากนี้ก็วางแผนไว้ว่าจะทำให้บริการที่มีอยู่แล้วในไต้หวัน ปรับเข้ากับ local มากขึ้น
โปรโมชั่น “Buy One Get One Free” ที่พบเจอได้บ่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น “ความคุ้มค่า” ถือเป็นเสน่ห์ที่เป็นจุดแข็งสำหรับประเทศทางเอเชีย
ที่ไต้หวัน มีการให้เล่นเกมรูเล็ทหลังจากซื้อสินค้าแล้ว เพื่อลุ้นโอกาสได้ส่วนลด ทำให้รู้สึกคุ้มค่าตอนซื้อของ

ทำไม บริการเก็บเงินภายหลังถึงถูกเลือกในประเทศเวียดนาม ทั้งผู้บริโภคและร้านค้าที่เข้าร่วมนั้น ได้ให้ความคิดเห็นอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่น ขอเน้นตรงจุดที่เราเน้นการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ตอนที่เริ่มต้นใช้บริการ แทบจะไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวเลย เป็นจุดที่ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบมาก

ถัดมา คือจุดที่สามารถจ่ายเงินได้หลังจากที่ตรวจเช็คสินค้าแล้ว โดยเฉพาะกับเว็บไซต์เล็ก ๆ ที่เริ่มต้นใช้งานครั้งแรก มีหลายคนบอกว่า “ได้รับของก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินก็ได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องโดนหลอก หรือได้รับสินค้าไม่ดี”

การจ่ายเงินที่ยืดหยุ่นได้ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งเลยครับ พื้นฐานคือการเรียกเก็บเงินทาง SMS ได้รับแล้วก็เปิดเว็บไซต์แล้วเลือกวิธีการจ่ายเงินที่ต้องการ มีความยืดหยุ่น สามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งจ่าย 3 ทั้งตอนสั่งซื้อ และเปลี่ยนภายหลังได้

สำหรับบริษัทลูกค้าซึ่งเป็นร้านค้าที่เข้าร่วมนั้น มองว่า ประสบการณ์การซื้อของที่สะดวกสบายถือเป็นตัววัด บริการจ่ายแบบเก็บเงินภายหลังนั้น ไม่มีการเข้าไปที่แอพ สามารถจ่ายด้วยป็อปอัพได้ทันที และไม่จำเป็นของดาวน์โหลดแอพของบริษัทเรา

ถ้าเป็นเจ้าอื่น ต้องโหลดแอพมาลงหรือใช้ eKYC, ตรวจเช็คโซเชียล, ให้ข้อมูลรายได้ต่อปีเป็นต้น ค่อนข้างมีขั้นตอนยุ่งยาก บางทีอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 15 นาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง แต่บริการจ่ายเงินภายหลังของเรานั้น แค่ให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ แล้วยืนยันตัวตนด้วย SMS ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็สามารถจ่ายเงินได้แล้ว

ในฐานะโอเปอเรเตอร์ ยอดขายของร้านที่เข้าร่วมถือเป็นผลงานที่เราใส่ใจ เราต้องการที่จะให้มีการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น

สยายปีกเพื่อเป็นบริษัทระดับนานาชาติทั่วเอเชีย

ช่วยเล่าถึงเป้าหมายหลังจากนี้ให้ฟังหน่อยครับ

เหมือนที่กล่าวไปแล้ว พวกเราต้องการจะหยุดอยู่แค่เวียดนาม แต่ต้องการจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ให้ได้อย่างรวดเร็ว เราได้สร้าง Business Model ที่เวียดนามก่อน แล้วก็ต้องการจะขยายต่อไปยังไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มี GDP สูง

อีกทั้งไม่ใช่แค่บริการแบบพวกเราเท่านั้น การได้เห็นบริษัทญี่ปุ่นออกไปต่อสู้ในต่างประเทศมากขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจครับ เราได้มาทำงานในต่างประเทศแล้ว คิดว่าคุณภาพการทำงานของคนญี่ปุ่นนั้นสูงมาก

ด้วยปัญหาเรื่องกำแพงภาษา ทำให้มีเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจบ้าง ตัวผมเองก็ได้ผ่านความผิดพลาดมากมาย แต่ถ้าตั้งใจทำแล้ว บริษัทญี่ปุ่นก็จะสามารถเจาะตลาดต่างประเทศได้ ถ้าความตั้งใจของชาวญี่ปุ่นนั้นขยายแผ่ไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ก็คงจะดีนะครับ

Related Articles

RECOMMEND