SaaS/Cloud Services

Digital

Software for Business

Others

06.03.2024

【Business Improvement】Kintone ตั้งเป้าหมายสร้างระบบใหม่ให้สามารถใช้งานควบคู่กับระบบเดิม ระบบที่ทุกองค์กรในไทยสามารถใช้ทำ Digital Transformation ได้

หนึ่งในอุปสรรคความก้าวหน้าของการทำ Digital transformation ก็คือ เครื่องมือดิจิทัลที่ผลิตจากต่างประเทศมักไม่สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับกระบวนการทำงานและระบบเดิมที่ใช้อยู่ของประเทศไทย ซึ่ง Kintone มองเห็นปัญหาในส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นสร้างระบบการทำงานที่ใช้งานง่าย แม้ผู้ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถเชื่อมต่อระบบของ Kintone กับระบบที่มีอยู่เดิมได้ อีกทั้งยังดำเนินการขยายการให้บริการไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความต้องการทำ Digital transformation และมีแผนจะก่อตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทย หรือ Kintone (Thailand) Co., Ltd. ในเดือนมีนาคม ปี 2567 จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราได้พูดคุยกับคุณ Namya ในประเด็นความเคลื่อนไหวดังกล่าว

Kintone เครื่องมือที่ช่วยในการปรับปรุงระบบการทำงานแบบไม่ต้องใช้การเขียนโค้ด หรือ เขียนด้วยการเขียนโค้ดน้อยที่สุด (Low-code/no-code)

-ขอสอบถามเกี่ยวกับภาพรวมการบริการของทางบริษัท

Kintone เป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับปรุงระบบการทำงานแบบ No code Low code ซึ่งแม้แต่ผู้ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างระบบการทำงาน หรือ ระบบที่ใช้ในการจัดการกระบวนการทำงาน (Workflow system) ได้อย่างง่ายดาย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้งานยังสามารถทำให้กระบวนการทำงานของตนกลายเป็นดิจิทัลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ใช้เพียงแค่การปรับแต่งเทมเพลตของแอปพลิเคชั่นงานตามต้องการเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะผู้ใช้งานจำนวนกว่า 90% มักเป็นบุคคลที่ไม่ได้ทำงานในสาย IT
นอกจากนี้ ข้อมูลทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น รายงานประจำวัน ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลสินค้าคงคลัง สามารถจัดการและสร้างกราฟบน Kintone ได้ ทั้งยังสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
บริษัทมากกว่า 30,000 แห่งทั่วโลก และบริษัทมากกว่า 1,000 แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างบอกต่อองค์กรต่าง ๆ ให้ทดลองใช้งาน Kintone โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งใช้บริการนี้กันเป็นจำนวนมาก

-ในประเทศไทยมีการนำ Kintone ไปใช้อย่างไร
นอกจากระบบบริหารจัดการการขายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบริษัทญี่ปุ่น บริษัทหลายแห่งในไทยใช้ Kintone เป็นระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ ขั้นตอนการจัดซื้อในอดีต เริ่มต้นด้วยการยื่นคำร้อง สร้างใบสั่งซื้อและมาเสร็จสิ้นที่การอนุมัติใบสั่งซื้อ ซึ่งต้องใช้ทั้งเวลาและแรงงาน ในทางกลับกัน เมื่อใช้ kintone เชื่อมต่อเข้ากับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็สามารถสร้างระบบขึ้นมาได้ ดังนั้นเพียงแค่ได้ข้อมูลใน Database (ฐานข้อมูล) จาก Vendor (ผู้จัดจำหน่าย) ลำดับขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ยื่นคำร้องจนมาเสร็จสิ้นที่การอนุมัติก็สามารถทำจบในระบบเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว

เครื่องมือดิจิทัลจากต่างประเทศอาจไม่เหมาะกับเงื่อนไขเดิมที่ใช้อยู่ในไทย

-เพราะเหตุใด Kintone ถึงได้รับการสนับสนุนในประเทศไทย ?

ประเทศไทยมีขั้นตอนการทำงานที่หลากหลายและมีแบบฉบับเฉพาะตัว รวมถึงการจัดการจัดซื้อ ซึ่งเหตุผลหลักคือเราสามารถสร้างระบบให้เหมาะกับขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ได้อย่างยืดหยุ่นนั่นเอง Kintone สามารถเชื่อมโยงกับระบบที่มีอยู่ในประเทศไทยผ่าน open API และการเชื่อมโยงระหว่าง Core system กับระบบบัญชีที่พัฒนากันมาในประเทศไทยถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการส่งเสริม Digital Transformation ในไทย ซึ่งฟังก์ชันการพัฒนาและปรับแต่งที่ยืดหยุ่นของ Kintone ช่วยให้สามารถบูรณาการกับระบบที่มีอยู่ได้อย่างราบรื่น และมีส่วนช่วยเร่ง Digital Transformation ให้ขับเคลื่อนไปได้ไกลยิ่งขึ้น

-ขอทราบเกี่ยวกับตัวอย่างบริษัทในประเทศไทยที่นำไปใช้งาน

FRIEND OA CENTER CO., LTD. บริษัทจัดจำหน่ายและให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ และโปรเจ็กเตอร์ ได้นำ Kintone มาใช้เมื่อประมาณหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ประสบความสำเร็จในการเพิ่มยอดขายต่อเดือนต่อพนักงานขาย 1 คนจาก 90,000 บาท เป็น 200,000 บาท ซึ่งถ้าเป็นช่วงก่อนระบบมาใช้ได้ยินมาว่า การสื่อสารระหว่างสมาชิกผ่านกระดาษ อีเมล และ LINE ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น “ไม่สามารถตอบกลับได้ทันเวลา” “ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเมื่อเจรจากับลูกค้า” และด้วยการสร้างระบบจัดการงานขายด้วย Kintone ทำให้สามารถประสานงานการสื่อสารบนระบบจัดการงานขาย และประสบความสำเร็จในการสื่อสารที่ทันท่วงที

– มีปัญหาในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในประเทศไทยหรือไม่?

ความท้าทายที่บริษัทในประเทศไทยกำลังเผชิญกันอยู่ ก็คือ การขาดเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะกับกระบวนการทำงานอันมีเอกลักษณ์เฉพาะและระบบที่มีอยู่ของประเทศไทย ซึ่งบริษัทหลายแห่งพยายามนำเครื่องมือดิจิทัลมาปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานกันอย่างกระตือรือร้น แต่เครื่องมือที่ผลิตในต่างประเทศมักไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตนได้

บริษัทขนาดใหญ่สามารถเลือกที่จะพัฒนาระบบกันภายในองค์กรได้ เพียงแต่การพัฒนาและการบำรุงรักษาต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ในทางกลับกัน บริษัทที่เป็น SME ยังขาดบุคลากรด้าน IT ที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบ และถึงแม้จะมีบุคลากรดังกล่าวก็ตาม การดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ก็ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่ดี

เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ วิธีการแบบ no-code/low-code ของ Kintone จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาระบบธุรกิจที่ตรงตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนต่ำ และเนื่องจากสามารถสมัครทำสัญญาเริ่มต้นจาก 5 ผู้ใช้งาน จากนั้นเพิ่มผู้ใช้งานได้ทีละ 1 คน ทำให้แม้แต่ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางเองก็สามารถพิจารณาการนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

การก่อตั้งบริษัทสาขาในไทยเพื่อสร้าง Kintone Ecosystem
– การก่อตั้ง Kintone (Thailand) Co., Ltd. ให้เป็นบริษัทสาขาในไทยในเดือนมีนาคม 2567 มีความเป็นมาอย่างไร
หลังจากก่อตั้งบริษัทสาขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศมาเลเซียเมื่อสองปีที่แล้ว เราตัดสินใจก่อตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทยเพื่อสร้างองค์กรที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการตลาด และระบบสนับสนุนเพิ่มเติมในตลาดไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงขณะนี้การทำงานผ่านสำนักงานสำหรับผู้ที่มาพำนักในไทยเป็นระยะ ก็มีขีดจำกัดในการสรรหาคนในไทย และการขยายทีมงาน และบางครั้งการให้ความช่วยเหลือบริษัทคู่ค้าภายนอกก็มีข้อจำกัดเช่นกัน ดังนั้น การจัดตั้งบริษัทสาขาในไทย และการเพิ่มจำนวนพนักงานก็น่าจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าภายนอก และสร้างระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น เรากำลังพิจารณาที่จะเปิดศูนย์สนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยเมื่อจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมและชุมชน (Community) ในญี่ปุ่นที่ใช้แบ่งปันความรู้ Kintone ให้กับผู้ใช้งาน (User) แต่เราจะพิจารณาสิ่งเหล่านี้ทีละขั้นตอน เราจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างระบบของเราในเบื้องต้นก่อน ซึ่งเราก็อยากจะดำเนินการเช่นเดียวกันในไทย

-ขอทราบแนวโน้มในอนาคต

เรามีความคิดที่จะขยายระบบนิเวศโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Kintone ในประเทศไทย ไม่ใช่แค่เพียงผลิตภัณฑ์เท่านั้น สิ่งสำคัญคือต้องเพิ่มความเป็นไปได้ในการปรับปรุงธุรกิจผ่านการพัฒนา Add-on และการปรับแต่ง(Customize) แต่ทรัพยากรในสถานที่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ ดังนั้น กุญแจสำคัญในการเพิ่มมูลค่าสูงสุดที่ Kintone มอบให้ คือ การมอบมูลค่าผ่านระบบนิเวศทั้งหมด รวมถึงการให้บริการในการเชื่อมระบบและบริษัทคู่ค้าภายนอก วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างระบบนิเวศ Kintone เช่นนี้ในไทย

นอกจากนี้เรายังให้การสนับสนุนแก่ลูกค้าที่มีปัญหา เช่น “ไม่มีเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับประเทศไทย” หรือ “ฉันต้องการทำ Digital Transformation แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน” เราจะสร้างระบบที่ทำให้หันมาคิดกันว่า “หากมีเครื่องมือชื่อ Kintone ฉันสามารถปรับปรุงงานและทำ Digital Transformation ได้”

และเรามุ่งหวังที่จะส่งเสริมความร่วมมือให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยการผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคจากมุมมองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม โดยเราจะมุ่งเน้นขยาย Kintone ไปในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีความต้องการทำ Digital Transformation สูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบริบทนี้ เรามองว่าการนำ Kintone มาให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ จะสร้างคุณประโยชน์ในการเชื่อมโยงบริษัทที่มีฐานการผลิตในภูมิภาคต่าง ๆ ได้อีกด้วย และการขยายโอกาสทางธุรกิจไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่าน Kintone จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือและการเติบโตที่เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น

สอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Kintone

https://share.hsforms.com/1udqj6SoaRJmr6ZbgHcZ1ag13t48

Related Articles

RECOMMEND