เชื่อว่าหลายท่านคุ้นเคยกับวิธียืนยันตัวตนแบบ E-KYC ซึ่งย่อมาจาก Electronic Know-Your-Customer เพราะเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ก็จำเป็นต้องยืนยันตัวตนด้วยวิธีนี้เสมอ ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถนำการยืนยันตัวตนในลักษณะนี้มาใช้ประโยชน์ในธุรกิจได้ด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทีมงานมีโอกาสพูดคุยกับ คุณอมฤต ฟรานเซน ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ แห่ง AppMan Co., Ltd, ผู้ให้บริการยืนยันตัวตน และตรวจสอบบุคคลด้วยเทคโนโลยี AI ชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งบทความนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้ทำความรู้จักและเข้าใจ มองเห็นประโยชน์ของการตรวจสอบบุคคลอย่างเต็มขั้น
ที่มาของระบบตรวจสอบข้อมูลบุคคล จาก AppMan
AppMan คือ บริษัทผู้พัฒนา และให้บริการเทคโนโลยีด้านการตรวจสอบ ตลอดจนความปลอดภัยทางข้อมูลขององค์กรมานานกว่า 10 ปี ในช่วงแรกให้บริการเกี่ยวกับ OCR (Optical Character Recognition) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดึงข้อมูลจากภาพ เนื่องจากธุรกิจด้านการเงินมีข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องใช้ และเก็บรักษาเป็นจำนวนมาก การดึงข้อมูลออกจากภาพ เช่น บัตรประชาชน จึงช่วยลดระยะเวลาการทำงานได้เป็นอย่างดี ล่าสุดทาง AppMan ได้เพิ่มบริการตรวจสอบข้อมูลบุคคล หรือ E-KYC ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบว่าบัตรประชาชนที่ส่งมาเป็นฉบับจริงหรือฉบับปลอมแปลง ต่อเนื่องถึงบริการที่มีชื่อว่า Background Check ซึ่งจะทำการตรวจสอบข้อมูลของบุคคลได้มากถึง 8 ข้อด้วยกัน อาจสรุปง่าย ๆ ได้ว่า AppMan คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการตรวจสอบข้อมูลบุคคลให้กับองค์กรหลายแห่ง ไม่จำกัดเฉพาะองค์กรซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการเงินอีกต่อไป
ระบบตรวจสอบข้อมูลบุคคล ไม่จำกัดประโยชน์ไว้เพียงแค่ธุรกิจด้านการเงินเท่านั้น
แม้ว่า AppMan จะเป็นพันธมิตรที่ดีของบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินหลายแห่ง เพราะรูปแบบธุรกิจดังกล่าวจำเป็นต้องใช้การยืนยันตัวตนที่เสถียร มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูง แต่ระบบตรวจสอบข้อมูลบุคคลก็ไม่ได้ถูกจำกัดความสามารถอยู่แค่เพียงการตรวจสอบหรือยืนยันว่าลูกค้าที่เข้ามาทำธุรกรรมเป็นตัวตนจริง ไม่ได้แอบอ้างเพื่อเข้ามาฉ้อโกง แต่ยังสามารถใช้เพิ่มความมั่นคง และสร้างโอกาสเหนือคู่แข่งได้อีกด้วย
ประโยชน์ และความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูล
เมื่อหนึ่งในปัจจัยของการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลบุคคลอย่างละเอียดก่อนรับเข้าทำงานจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากประสบการณ์ และความรู้ความสามารถ องค์กรควรตรวจสอบประเด็นอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานว่าเคยกระทำความผิดร้ายแรงมาหรือไม่ เคยฉ้อโกงบริษัทหรือเปล่า (จากสถิติพบว่า 57% ของการฉ้อฉลเกิดจากบุคคลภายในร่วมมือกับมิจฉาชีพภายนอก) หรือ ณ ขณะมาสมัครงาน เขากำลังทำงานให้กับบริษัทใดอยู่บ้าง ซึ่งคุณอมฤตเล่าว่า จากประสบการณ์เคยพบผู้สมัครงานที่กำลังทำงานให้กับบริษัทต่าง ๆ มากถึง 16 แห่งในเวลาเดียวกัน สาเหตุที่ทำงานในลักษณะนั้นได้ก็เนื่องจากเป็นงาน Work From Home ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลเสียต่อองค์กรแน่นอน เพราะเป็นการยากที่พนักงานรายดังกล่าวจะทุ่มเททำงานให้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้อย่างเต็มที่
จากกรณีตัวอย่างที่ยกมา คุณอมฤตอธิบายว่าโดยทั่วไปผู้บริหาร หรือ HR จะคัดกรองผู้สมัครงานจากใบสมัคร และการสัมภาษณ์ แต่เวลาในการสัมภาษณ์เพียง 30 – 60 นาที มักไม่เพียงพอต่อการพิจารณาคัดกรอง จึงยังมีความเสี่ยงที่จะได้บุคลากรซึ่งไม่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริงเข้ามาทำงาน
ในอีกด้านหนึ่ง ความเร็วของการตัดสินใจเลือกบุคลากรเข้าร่วมงานก็มีส่วนสำคัญในความก้าวหน้าของบริษัท เพราะหากบุคคลนั้นมีคุณสมบัติ และประสบการณ์เหมาะสมกับองค์กร แต่ผู้บริหารลังเล ตัดสินใจช้า ก็อาจเสียพนักงานเปี่ยมคุณภาพให้คู่แข่งได้ ในทางตรงกันข้าม หากรีบตัดสินใจโดยไม่ไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ ก็อาจได้พนักงานที่ไม่เหมาะสมกับองค์กรเข้ามาทำงาน กระทั่งส่งผลเสียให้กับบริษัทได้
ในอดีต ฝ่ายบุคคลจะตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการเก็บรวบรวมเอกสาร และยื่นหนังสือขออนุญาตตรวจสอบข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งกว่าจะได้ข้อมูลครบถ้วนก็มักใช้เวลาร่วม 30 วัน ดังนั้นองค์กรขนาดเล็ก และขนาดกลางจึงไม่นิยมตรวจสอบถึงในระดับนี้ ทว่าด้วยบริการ E-KYC และ Background Check ของ AppMan ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลทั้ง 8 ข้อด้านล่างได้ครบถ้วนในเวลาเพียง 2 – 3 วันเท่านั้น
1. ประวัติอาชญากรรม
2. ประวัติการทำงาน
3. ประวัติการศึกษา
4. ยืนยันเงินเดือนกับ statement (เพื่อป้องกันการแอบอ้าง โดยการแจ้งเงินเดือนที่เคยได้รับสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อเรียกเงินเดือนจากที่ทำงานใหม่ให้สูงขึ้น)
5. ระบบตรวจสอบจากบุคคลอ้างอิง
6. Sanction List ระหว่างประเทศ (อาชญากรข้ามชาติ)
7. ประวัติล้มละลาย
8. พฤติกรรมบนโลกออนไลน์
สำหรับความสำคัญของการตรวจสอบพฤติกรรมทางออนไลน์ของผู้มาสมัครงาน คุณอมฤตยกตัวอย่างว่า หากพนักงานส่วนใหญ่ในบริษัทเป็นผู้หญิง แล้วมีความจำเป็นต้องรับพนักงานชายเข้ามาร่วมงาน หากผู้บริหาร หรือ HR ไม่ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้สมัครให้ละเอียด ตัดสินใจรับผู้สมัครชายที่มีพฤติกรรมในทาง sexual harassment เข้ามา ก็มีโอกาสเกิดปัญหาขึ้นภายในองค์กร ทั้งยังอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงระดับความศรัทธาในตัวผู้บริหาร เพราะพนักงานหญิงอาจมองว่าผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของพนักงานหญิงที่ทำงานอยู่ก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผลเสียที่ตามมาอาจมีมากกว่าที่คิด
AppMan แปลงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
แม้การบันทึก ยืนยัน และตรวจสอบข้อมูลบุคคลแบบรอบด้านจะดูเป็นเรื่องซับซ้อน ทว่าด้วยเทคโนโลยี OCR หรือ Optical Character Recognition กลับช่วยทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะ AI สามารถแปลงรูปภาพให้เป็นข้อความได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากสำเนาเอกสาร หรือข้อมูลบนบัตรประชาชน และยังบันทึกเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อง่ายต่อการค้นหา พร้อมทั้งเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยได้อีกด้วย
ในกรณีองค์กรจัดแคมเปญให้สิทธิประโยชน์พิเศษกับลูกค้า บริการ E-KYC ก็จะช่วยตรวจสอบบุคคลที่เข้ามารับสิทธิพิเศษดังกล่าวได้ ป้องกันการแอบอ้างสวมสิทธิ์ หรือการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างน่าพอใจ
สำหรับบริการ Background Check นอกจากจะใช้เพื่อรับสมัครบุคลากรเข้ามาร่วมงานแล้ว ยังสามารถใช้ตรวจสอบองค์กรที่เข้ามาขอร่วมลงทุน หรือใช้ตรวจสอบเครดิตความน่าเชื่อถือก่อนปล่อยกู้ได้อีกด้วย ความสามารถของเทคโนโลยี AI และ Machine Learning ของทาง AppMan สามารถปรับใช้เข้ากับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
ในด้านความปลอดภัย ห้องเก็บข้อมูลของทาง AppMan เป็นระดับ Security Room อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะผู้เกี่ยวข้อง หรือมีสิทธิ์เข้าใช้งานเท่านั้น ระดับความเข้มงวดสูงมาก แม้แต่ระดับผู้บริหารก็ยังเข้าไปไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีระบบ Data marking ที่นิยมใช้กับบัตรประจำตัวประชาชน โดยสามารถเราสามารถเลือกปิดข้อมูลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาข้อมูลรั่วไหลออกสู่ภายนอกได้ หรือแม้กระทั่งการเลือกปิดข้อมูลของบุคคลอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเอกสารเดียวกัน แล้วเปิดข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะรายชื่อที่เราต้องนำมาใช้ ก็สามารถทำได้ อาจพูดได้ว่าระบบ Data marking ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้ทั้งสองทาง นั่นคือ องค์กร และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
และแม้ว่าความสามารถในการกลั่นกรองของเทคโนโลยี AI จาก AppMan จะสูงถึง 98% แต่เนื่องจากทางบริษัทต้องการให้ข้อมูลมีความถูกต้องที่สุด จึงจัดให้มีพนักงานคอยตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นข้อมูลที่ได้ออกมาจึงถูกต้องแม่นยำ และปลอดภัยสูง ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นข้อมูลที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะนำไปใช้ในองค์กรขนาดใด เนื่องจากทาง AppMan ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นไว้ให้สามารถใช้งานผ่าน แดชบอร์ด (Dashboard) ได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดของ AppMan อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA อย่างเคร่งครัด เนื่องจากระบบจะแจ้งวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และขอรับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้งก่อนเริ่มดำเนินการ
ในอนาคต AppMan วางแผนจะขยายธุรกิจ และเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจากวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหาร และศักยภาพของทีมงาน ก็ทำให้เราเชื่อได้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะสำเร็จได้ในไม่ช้า
หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจใช้งาน Digital Background Check Service จาก AppMan สามารถเข้าชมเว็บไซต์ https://www.appman.co.th/appman-background-checker/ และติดต่อสอบถามผ่านทางเว็บไซต์หรือช่องทางที่ระบุไว้ได้ทันที
Related Articles