Big Data

COVID-19

AI Technology

Smart Factory

Design and Production

IoT, M2M

Robotics

Wearable

CAD/CAM/CAE

26.05.2023

【Manufacturing Tech】ขั้นตอนการทำ Smart Factory ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี มีประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผล

ปัจจุบันโลกหมุนเวียนปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เข้าสู่ยุคของการแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยี ในวงการอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกัน ซึ่งครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC), NSTDA มาให้ความรู้เกี่ยวกับ Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ นอกจากจะได้มีโอกาสทำความรู้จัก Smart Factory กันให้มากขึ้นแล้ว ยังจะได้ศึกษาขั้นตอนการทำ Smart Factory ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย

Smart Factory (โรงงานอัจฉริยะ) คืออะไร?

Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาทำงานร่วมกับอุตสาหกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะด้าน Digital Technology เช่น IIoT (Industrial Internet of Thing) และ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาช่วยให้ระบบการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ระบบทำงานเป็นแบบระบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในชิ้นงานการผลิตให้มีคุณภาพ เพิ่มปริมาณการผลิต ลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรด้านบุคคล ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) รวมไปจนถึงการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ในอนาคตอีกด้วย

ความสำคัญของการทำ Smart Factory และทำไมคนถึงสนใจ?

การทำ Smart Factory เป็นสิ่งสำคัญที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างจุดที่มนุษย์ทำไม่ได้ โดยเฉพาะในขั้นตอนการผลิต เช่น การผลิตที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง ต้องคำนวณด้วยระบบ การผลิตชิ้นส่วนเล็ก ๆ ซึ่งเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถจับหรือสัมผัสได้ การผลิตที่มีขีดจำกัดด้านเวลาหรือจำนวนมหาศาล สิ่งเหล่านี้ล้วนเกินขีดจำกัดความสามารถของมนุษย์

“ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น”

ปัญหาและข้อควรระวังสำหรับการทำ Smart Factory?

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการปรับเปลี่ยนมาทำ Smart Factory มากขึ้น ไม่ว่าจะโดยการซื้ออุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ทั้ง Hardware และ Software โดยลืมคำนึงถึงปัญหาในด้าน “การใช้งาน” ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนว่าเครื่องมือต่าง ๆ นั้นมีวิธีการใช้งานอย่างไร ต้องบำรุงรักษาด้วยขั้นตอนใดบ้าง ในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านระบบ อุปกรณ์เหล่านี้จะยังใช้งานต่อได้หรือไม่ รวมถึงสิ่งสำคัญอย่างการปรับตัวของพนักงาน ว่าควรมีความสามารถในการใช้งานอยู่ในระดับใดจึงจะดึงประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ ซึ่งปัญหาบางส่วนหรือทั้งหมดที่กล่าวมา อาจเป็นสาเหตุทำให้เทคโนโลยีที่ตั้งใจลงทุนซื้อมาใช้ถูกละทิ้งไปในที่สุด

ควรเริ่มต้นนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และเริ่มทำ Smart Factory อย่างไร?

ก่อนจะเริ่มทำ Smart Factory ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อให้การลงทุนไม่เสียเปล่า ทั้งด้านเม็ดเงินและเวลา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้งาน ขั้นตอนการบำรุงรักษา วิธีการติดตั้ง ทั้งยังควรทราบว่าคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละอย่างนั้นเหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบใด จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมประเภทใดเพิ่มหรือไม่ มีข้อควรระวังหรือมีอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่อย่างไร เงื่อนไขการอัพเกรด ความปลอดภัยทาง Cyber Security รวมไปถึงด้านของผู้ใช้งาน เช่น user คือใคร จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางหรือไม่ เพื่อให้ user สามารถเรียนรู้วิธีที่จะนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุด แต่หาก user ไม่มีความรู้มากพอ สุดท้ายอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ก็จะกลายเป็นของไร้ประโยชน์ไปโดยปริยาย

“HARDware. SOFTware. PEOPLEware.”

ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจได้เห็นโรงงานอุตสาหกรรมหันมาทำ Smart Factory กันมากขึ้น เพื่อเร่งปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หรืออาจจะมีนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าสนใจกว่าเข้ามาแทนที่ ถือเป็นเรื่องราวที่น่าติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมการผลิตของไทยต่อไป

Related Articles

RECOMMEND