แนะนำ 8 บริการชำระเงินยอดนิยม
ระบบการชำระเงินออนไลน์เป็นระบบที่ช่วยให้การชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถนำไปใช้ชำระเงินล่วงหน้าที่ร้านค้าจริงได้ด้วย เช่น เว็บไซต์ e-Commerce ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย หรือโรงแรมที่พัก
วิธีการชำระเงินหลัก ได้แก่ การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต การโอนเงินผ่านธนาคาร การชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ การชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยการรองรับวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย จึงเป็นการเพิ่มช่องทางจำหน่ายได้อีกหนึ่งช่องทาง
การลงทะเบียน รวมถึงการใช้งานบริการชำระเงินแบบเดิม ๆ อาจสร้างความลำบาก และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่หากเปลี่ยนมาใช้ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมการชำระเงินต่าง ๆ กระทำการแทน และควบคุมจัดการการรับเงินเข้าได้จากส่วนเดียว จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดภาระในการทำงานลงได้
ดังนั้น วันนี้เราจึงเรียบเรียง และรวมรวมประเด็นสำคัญ รวมถึงลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ เพื่อให้ทุกท่านนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเลือกระบบ หรือบริการชำระเงินออนไลน์ที่เหมาะสม หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์ และนำมาปรับใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. Omise
Omise ที่เดียวจบ ครบทุกความต้องการของธุรกิจ
Omise คือระบบชำระเงินที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการทำงานครบครัน ที่พร้อมจะดูแลระบบแบบครบวงจร และยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
การรับชำระเงิน
ผู้ซื้อจากทั่วโลกสามารถเลือกชำระเงินผ่านทางช่องทางที่คุ้นเคย การเพิ่มตัวเลือกในการรับชำระเงินให้ผู้ซื้อ โดยช่องทางการชำระเงินที่ลูกค้าคุ้นเคยส่งผลให้ลูกค้ากล้าที่จะชำระเงินมากขึ้นและการค้าขายก็ดีขึ้นไปด้วยเช่นกัน
ค้าขายบนโซเชียล
เพิ่มโอกาสทางการขายและมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นให้กับผู้ซื้อทางออนไลน์ เปลี่ยนการแชทธรรมดาให้กลายเป็นการพูดคุยให้ข้อมูลสินค้า เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายและปิดการขายได้เลย โดยไม่ต้องส่งผู้ซื้อมาที่เว็บไซต์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
ระบบอัตโนมัติ
งานประจำซ้ำซากที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำสูง ระบบอัตโนมัติจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการทำงานให้ส่วนต่างๆให้มีความแม่นยำมากขึ้น แค่สั่งการระบบเอาไว้และรอระบบดำเนินการเองได้เลย
เริ่มต้นได้ง่าย
การติดตั้งระบบให้เข้ากับเว็บไซต์ทำได้โดยง่าย และเริ่มต้นชำระเงินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย
https://www.omise.co/th/thailand
2. Square
ระบบการชำระเงินที่สามารถจัดการข้อมูลทั้งร้านค้าจริง และร้านค้าออนไลน์จากส่วนกลางได้ด้วยบัญชี Square
เนื่องจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของร้านค้าจริง และร้านค้าออนไลน์จะซิงโครไนซ์กันโดยอัตโนมัติ ผ่านเครื่องคิดเงิน POS เฉพาะทาง จึงช่วยลดขั้นตอนการจัดการผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดการคำสั่งซื้อลงได้
นอกจากนี้ หากใช้ฟังก์ชันสร้างเว็บไซต์ แม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับภาพลักลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดาย สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ และจัดการได้โดยง่าย ทั้งยังสนับสนุนการขายโดยใช้ SNS เช่น Instagram และ Facebook
https://squareup.com/us/en
3. LINE Pay
บริการชำระเงินด้วยรหัส QR ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งาน LINE ได้มากกว่า 81 ล้านคนในญี่ปุ่น
บริการครบวงจร ส่งเสริมการใช้บริการของลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่กลับใช้บริการซ้ำด้วยแคมเปญที่สนับสนุนการดึงดูดลูกค้า และการคืนกำไรโบนัส LINE Pay
ด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับบัญชีทางการของ Line ช่วยให้สามารถเพิ่มเพื่อนในบัญชีเมื่อชำระเงินได้ และสามารถดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น ส่งข้อความ ออกคูปองส่วนลด ได้อย่างมีประสิทธิผล
ทั้งยังรองรับ “WeChat Pay” และ “NAVER Pay” บริการชำระเงินในมือถือสำหรับ Inbound
https://pay.line.me/portal/jp/main
4. STORES
ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่สามารถสร้าง และส่งใบแจ้งหนี้ (หน้าเว็บสำหรับชำระเงิน) ทางออนไลน์ได้
เมื่อส่งใบแจ้งหนี้แล้ว URL สำหรับการชำระเงินจะถูกส่งไปยังที่อยู่อีเมลของผู้ใช้งาน จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถชำระเงินจากหน้าเว็บได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งยังสามารถสร้างหน้าเว็บที่รองรับหลายภาษาโดยอัตโนมัติได้จากใบแจ้งหนี้เพียงใบเดียว
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสนใจ เพราะทั้งร้านค้า และผู้ใช้งานสามารถชำระเงินบนเว็บเบราว์เซอร์ของPC สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตโดยไม่ต้องใช้แอปพลิเคชันอีกด้วย
https://coiney.com/
5. Paidy
ระบบการชำระเงินที่ไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ใช้งานวัยหนุ่มสาว และผู้ใช้งานที่ไม่ใช้บัตรเครดิตซึ่งมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านบัญชี
ผู้ใช้งานสามารถเลือก “ชำระภายหลัง 3 ครั้ง” แบ่งจ่ายได้ 3 งวด โดยไม่มีค่าบริการแบ่งจ่าย (ค่าธรรมเนียมสูงสุด 356 เยน/ครั้ง เฉพาะกรณีที่ชำระที่ร้านสะดวกซื้อ) แต่ทางร้านจะได้รับเงินเต็มจำนวนในเดือนถัดไปตามปกติ จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มผู้ใช้งานใหม่โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินที่ได้จากการขายสินค้าจะเข้าช้า โดยมีการรับประกันเงินที่ได้จากการขายสินค้าเข้า 100%
https://paidy.com/
6. Stripe
โครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินสำหรับอินเทอร์เน็ตที่จัดการธุรกิจออนไลน์ด้วยระบบรับชำระเงินและฝากเงินโดยใช้ซอฟต์แวร์ Stripe และ API ที่มีฟังก์ชั่นระดับสูง
มีโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินเพื่อการขายผ่านเคาน์เตอร์ การชำระเงินตามรอบระยะเวลา แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ และ Market Place ของผลิตภัณฑ์ Stripe ครบถ้วน ทั้งยังสามารถเลือก และเชื่อมโยงระบบชำระเงินให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจได้
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการสนับสนุนทางธุรกิจ เช่น ส่งใบแจ้งหนี้ การออกบัตรเสมือนจริงและบัตรจริง การระดมทุน และการจัดการค่าใช้จ่าย ด้วยเช่นกัน
https://stripe.com/ja-gb
7. PayPal
แพลตฟอร์มการชำระเงินที่มีผู้ใช้งาน 360 ล้านคนทั่วโลกและรองรับมากกว่า 100 สกุลเงิน
ผู้ใช้งานสามารถเลือกชำระเงินบนเว็บไซต์ มือถือ หรือแอพได้ตามใจชอบ เมื่อการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีธุรกิจของร้านค้าทันที
นอกจากนั้นยังสนับสนุนธุรกิจออนไลน์ด้วยบริการต่าง ๆ ได้แก่ ตัวเลือกการชำระเงินสม่ำเสมอ เช่น ค่าสมัครสมาชิก และ “PayPal.Me” ที่รับการชำระเงินได้เพียงแค่แชร์ลิงก์ผ่านอีเมล SMS หรือ SNS และการจัดทำ/ส่งใบแจ้งหนี้/ใบเสนอราคา เป็นต้น
https://www.paypal.com/jp/webapps/mpp/home
8. ROBOT PAYMENT
บริการชำระเงินที่มีจุดแข็งด้าน solution การจัดการสมาชิกผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น การเรียกเก็บเงินในราคาคงที่สำหรับแฟนคลับ โรงเรียน สัมมนา
สามารถเลือกบริการชำระเงินที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานของคุณจากวิธีการชำระเงินต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การโอนเงินผ่านธนาคาร การชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ และการชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย
นอกจากนี้ ยังมี “การชำระเงินค่าสมาชิก” การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเฉพาะทางสำหรับการชำระเงินอย่างต่อเนื่องทุกเดือนด้วยเช่นกัน
https://www.robotpayment.co.jp/
SHOW CASE
Related Articles