Software for Business

Data Analytics

04.07.2021

ก้าวล้ำไปอีกขั้นกับเทคโนโลยีดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้วย Tool Data Integration Platform

ก้าวล้ำไปอีกขั้นกับเทคโนโลยีดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้วย Tool Data Integration Platform

สิรีรัศมิ์ ปัญญาอุปถัมภ์ Appication Specialist จาก Toyota Tsusho System (Thailand) Co.,Ltd. มานำเสนอกิจกรรมดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของ Saison Information Systems (SISCO) ในประเทศญี่ปุ่น
บริษัท SISCO ทำธุรกิจอยู่ 4 แขนง โดยหนึ่งในนั้นคือ Hulft Business Unit ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สินค้าหลักของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ตัว คือ

1. HULFT บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงินเกือบ 100% ในประเทศญี่ปุ่นใช้สินค้าตัวนี้เพื่อทำ Secure manage file transfer เป็น Middleware รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
2. Data Spider มีบริษัทที่นำไปใช้มากกว่า 3,000 แห่ง

SISCO ตั้งใจว่าจะเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเอกสารให้เป็นระบบอัตโนมัติให้ได้มากที่สุดโดยเปลี่ยนเข้าสู่ระบบคลาวด์เพื่อลดเวลาการทำงาน เริ่มทำดาต้าทรานส์ฟอร์เมชันตั้งแต่ ปี 2014 และวางแผนที่จะสามารถทำงานทั้งหมดบนคลาวด์ได้เต็มรูปแบบในปี 2022 จากการเวิร์คฟอร์มโฮมในปัจจุบัน พบว่าทุกแผนกสามารถทำงานผ่านคลาวด์ได้ถึง 78.6% การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ทางบริษัทได้ทำมีผลลัพธ์ มีดังนี้

1. ลดจำนวนการทำงานล่วงเวลาไปกว่า 20%
2. มีการลางานเพิ่มขึ้น 3.9%
3. ทำให้พนักงานมีเวลาไปพัฒนาศักยภาพของตน เช่น การไปอบรมคอร์สต่างๆเพิ่มเติม อย่างน้อย 8 วันต่อปี
4. รายได้เฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้น 17.5%

บริษัท SISCO สามารถทำการปิดบัญชีผ่านคลาวด์ได้แล้ว ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและเอกสารประกอบเป็นจำนวนมาก มีการดึงข้อมูลมาจากหลากหลายแอพพลิเคชันจึงต้องมีการ Integrate ข้อมูลเข้ามาเยอะแยะมากมาย เช่น ข้อมูลการเบิกจ่ายจากโปรแกรม Kyriba ข้อมูลเงินเดือนพนักงานจากโปรแกรม workday ข้อมูลค่าใช้จ่ายจากโปรแกรม Concur และข้อมูลการขายจากโปรแกรม Salesforce โดยใช้โปรแกรม Data Spider ในการ Integrate ข้อมูล ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลของคลาวด์แพลตฟอร์ม ออนพรีมิส หรือข้อมูลแบบฟอร์แมตต่างๆได้ โดยเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลโดยอัตโนมัติและเรียลไทม์ และปิดบัญชีได้โดยใช้โปรแกรม Blackline ซึ่งข้อมูลจะออกมาในรูปแบบของ BI Tool และรายงานผู้บริหารผ่าน Tableu

Visualization ด้วย Data spider

เบื้องหลังสำคัญในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน คือ Data spider servista ซึ่งเป็นกุญแจที่ทำให้แต่ละระบบสามารถทำงาน แชร์ข้อมูลร่วมกัน และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
Data spider เป็น Enterprise Application Integration สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหลากหลายแพลตฟอร์มได้อย่างเรียลไทม์และอัตโนมัติผ่านการเขียนสคริปต์บน Data spider เช่น ไฟล์เอ็กเซลล์ เทกซ์ ดาต้าเบส ข้อมูลแอพพลิเคชัน คลาวด์และเว็บเซอร์วิสต่างๆ โดยรองรับทั้งไฮบริดคลาวด์และออนพริมิส ทำงานง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เช่น การทำรายงานซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 15 นาที แต่ถ้าใช้ Data spider สามารถสร้างรายงานได้ในระดับวินาที จึงช่วยให้สามารถเห็นรายงานต่างๆ ได้อย่างเรียลไทม์
ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถช่วยลดงานที่มนุษย์ต้องทำจำพวกรูทันเวิค ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะมีการปรับและพัฒนากันมาบ้าง ซึ่งจำเป็นต้องใช้การเขียนโค้ดหรือโปรแกรมเมอร์ ส่งผลให้บริหารได้ยากจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเราสามารถลดความซ้ำซ้อนของงานเหล่านี้ได้โดยใช้ Data spider มาเขียนสคริปต์ และลดแมนนวลเวิคให้กลายเป็นงานออโตเมชัน ด้วย Data spider script ได้เช่นกัน

ในเวลาที่มีการ migration จาก SAP onpremise เป็น SAP on cloud  Data spider ก็จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำ migration และช่วยลดเวลาในการพัฒนางาน migration ได้อย่างมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายของวิศวกรที่ทำงานกับ SAP ที่มีค่าตัวสูงได้ เนื่องจากมีอะแดปเตอร์ที่สามารถอ่านจาก SAP ได้ถึงโครงสร้างโดยตรง และ integrateไปเป็น Data source ปลายทาง

Data spider จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีในการเขียนโปรแกรมในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเทรนด์ในปัจจุบัน คือรูปแบบ โนโคดดิ้ง คือไม่ต้องเขียนโปรแกรม โดยใช้คอนเซ็ปต์เป็นการลากและวางไอคอน โดยมีจำนวนน้อยกว่าการเขียนโค้ดจาว่าเป็นจำนวนมาก และยังสามารถอ่านสคริปต์ของ Data spider ได้แม้ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ รวมถึงโมดิฟายหรือเมนเทนแนนซ์สคริปต์ได้ด้วย ซึ่งในอนาคตจะมีการเขียนโปรแกรมน้อยลง
Data spider ยังมีฟีเจอร์หลากหลายที่จะทำให้สคริปต์ทำงานอัตโนมัติ ซึ่งตัวที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดคือ scheduler หรือการตั้งเวลา เช่น สั่งให้ทำงานทุกๆ เที่ยงคืน เป็นต้น และสามารถสร้าง specification document ได้ในคลิกเดียว

ผู้สนใจรับชม session นี้ย้อนหลัง สามารถเข้าไปชมได้ที่ Webinar Zone ในงาน ICHI

RECOMMEND