Smart Factory

IoT, M2M

Software for Business

11.06.2021

นโยบายเพื่อสร้างดิจิทัลไทยแลนด์โดยกลุ่มผู้ประกอบการด้าน IT ของประเทศญี่ปุ่น

นโยบายเพื่อสร้างดิจิทัลไทยแลนด์โดยกลุ่มผู้ประกอบการด้าน IT ของประเทศญี่ปุ่น

ใน Session 1 ซึ่งเป็นการบรรยายของ ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ มีการพูดถึงกลยุทธ์และภาพอนาคตในการขับเคลื่อนดิจิทัลไทยแลนด์ให้เป็นจริงด้วยไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุน

ส่วน Session ที่ 2 รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ได้บอกเล่าเอาไว้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิด Digital Disruption ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องทำ Digital Transformation เพื่อความอยู่รอด

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายเพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจดิจิทัลโดยภาครัฐและเอกชนต่างร่วมแรงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กระนั้นก็ยังเกิดเป็นคำถามขึ้นว่า IT Solution ของญี่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร เราควรขับเคลื่อน Digital Transformation (DX) ในรูปแบบใด ต่อข้อคำถามเหล่านี้เราได้รับเกียรติจาก
คุณวีระพล ไพศาลทรัพย์นิมิต บริษัท NTT Data Thailand
คุณสมศักดิ์ กาญจนาคาร บริษัท Hitachi Asia (Thailand)
และคุณภัทร จิระพงษ์ บริษัท Thai NS Solutions
มาร่วมพูดคุยถึงศักยภาพด้าน Digital Transformation ของประเทศไทยโดยมีคุณวิชัย วรธานีวงศ์เป็นผู้ดำเนินรายการ

โควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิด Digital Transformation

จุดแข็งอย่างหนึ่งของประเทศไทย คือ ได้รับการปูพื้นด้านโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยจำเป็นด้านอินเทอร์เน็ตจนมีความพร้อมเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนมีส่วนผลักดันให้เกิดการนำดิจิทัลมาใช้ในภาคธุรกิจ รวมถึงก่อเกิดศักยภาพเพียงพอที่จะนำพาไปสู่ Digital Transformation ซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมให้มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีนัยสำคัญ “ผมคิดว่าหากรัฐบาลและภาคธุรกิจให้การสนับสนุนด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในภาคธุรกิจก็จะรุดหน้ายิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลและธุรกิจต่าง ๆ ควรนำความรู้ความเข้าใจซึ่งมีอยู่ในกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการ IT อย่างพวกเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายสู่ Digital Transformation ในภาคธุรกิจ” (NTT Data)

ประเด็นนี้ถือว่าน่าสนใจอย่างมากสำหรับบริษัทซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ Digital Transformation อีกทั้งยังเป็นไอเดียต่อยอดว่าจะนำ Digital Transformation เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในรูปแบบใด
“ตัวอย่างเช่น ติดตั้งระบบบันทึกข้อมูลระยะไกล อาทิ เซ็นเซอร์ มิเตอร์ ภายในโรงงานซึ่งดำเนินงานตามนโยบาย Digital Transformation และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า สร้างโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า จากนั้นนำความคิดเห็นที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบรับ เพียงเท่านี้ก็จะได้ข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงระบบของฝ่ายผู้ผลิต” (NSSOL)

คราวนี้ลองมามองทางด้าน Hitachi Asia กันบ้าง ที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ทว่าระยะหลังกลับเริ่มมีลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการคนไทยเพิ่มมากขึ้น แม้ภาพลักษณ์ด้านการเป็นผู้ให้บริการด้าน IT หรือ IoT Solution ของ Hitachi Asia ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่เพื่อให้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางบริษัทจึงตัดสินใจก่อตั้ง Lumada Center Southeast Asia ขึ้นที่จังหวัดชลบุรี และ Lumada Center Bangkok Annex ที่กรุงเทพมหานคร “Solution ที่มีชื่อว่า Lumada Manufacturing Insight นี้ จะช่วยให้เรามองเห็นข้อมูลอันจำเป็นสำหรับ Digital transformation อีกทั้งช่วยให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้างผลกำไรได้อย่างไรบ้าง” (Hitachi)

Digital Transformation คือ การทำความรู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้ง

แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละพื้นที่แต่ละประเทศล้วนมีความแตกต่าง ดังนั้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นการบริการ การดูแลลูกค้าตามแบบฉบับของญี่ปุ่น และความจริงใจที่มีต่อลูกค้าน่าจะเป็นข้อได้เปรียบข้อใหญ่เลยทีเดียว

“ลูกค้าส่วนมากต้องการลดจำนวนบุคลากรลง และโยกย้ายบุคลากรเหล่านั้นสู่กลุ่มงานเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มคุณค่าของตัวพวกเขา การดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาให้ได้มากที่สุดเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ จึงอาจกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของ Digital Transformation ในบริษัท คือการลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลจึงถูกนำมาใช้กับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ รวมถึงเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ” (NTT Data)

ทั้งนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ที่กำลังพิจารณาการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์บางส่วนมองว่า มีแค่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่หรือBig Data ได้ ทว่า “แท้จริงแล้วขนาดและปริมาณข้อมูลไม่ใช่ประเด็นปัญหา พูดอีกแง่หนึ่งคือองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถทำ Digital Transformation ได้ไม่ต่างกัน ทุกคนสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจาก IoT แล้วนำมาใช้วิเคราะห์ ใช้สร้างข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งหลักการดังกล่าวจะเป็นปัจจัยเชื่อมโยงสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งในตลาด” (NSSOL)

ความเป็นไปได้หรือโอกาสของบริการ IT ญี่ปุ่น

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า บริษัทที่เปลี่ยนผ่านสู่ไทยแลนด์ 4.0 แล้วมีเพียง 2% เท่านั้น และอีกประมาณ 20% ยังอยู่ในช่วงไทยแลนด์ 3.0 ส่วนบริษัทที่เหลือเกือบ 80% ยังคงอยู่ในช่วงไทยแลนด์ 1.0 หรือ ไทยแลนด์ 2.0  (Hitachi)

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้คาดเดาได้ว่า บริการทางด้าน IT ของญี่ปุ่นน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่าข้อมูลเนื้อหาจากผู้ให้บริการ IT ของญี่ปุ่นทั้ง 3 บริษัทในครั้งนี้ค่อนข้างสอดคล้องกัน เหตุผลหลักที่การบริการด้าน IT ของญี่ปุ่นจะเข้ามาเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ผู้ประกอบการของไทยเริ่มนำ Digital Transformation เข้ามาใช้ประกอบด้วย มาตรฐานคุณภาพอยู่ในเกณฑ์สูง และเชื่อถือได้  นอกจากนี้ยังมีความเอาใจใส่พร้อมบริการ รวมถึงความซื่อสัตย์จริงใจ ซึ่งทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญสำหรับการธำรงพันธมิตรระยะยาวกับลูกค้า อีกทั้งผลักดันให้บริการ IT ของญี่ปุ่นได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องไม่เสื่อมคลาย แม้บางคนจะมองว่าแนวทางกล่าวค่อนไปทางความคิดเชิงอนุรักษ์นิยมก็ตามที

อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกันบางประการ นวัตกรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลของญี่ปุ่นไม่ได้ด้อยกว่าบริษัทผู้ให้บริการ IT ของประเทศทางฝั่งตะวันตก
เราจึงเชื่อว่าบริการ IT ของญี่ปุ่น จะมีส่วนสนับสนุนอนาคตอันสดใสของประเทศไทยและช่วยพัฒนาประเทศให้รุดหน้าต่อไปได้

RECOMMEND